Friday, 5 July 2024
NEWS
PROGRAM
TRENDING
COLUMNIST

‘มิตซูบิชิ อีเล็คทริค’ ผุด ‘XY Series’ ผลิตภัณฑ์ใหม่ กลุ่มอินเวอร์เตอร์ พร้อมรุกธุรกิจ B2B ครบวงจร ตั้งเป้ารักษาแชมป์ตลาดเครื่องปรับอากาศ

(20 ม.ค. 67) มิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา เดินหน้ารักษาแชมป์อันดับ 1 ผู้นำตลาดเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน จัดหนักแคมเปญส่งเสริมการตลาด พร้อมขยายฐานผู้บริโภคต่อเนื่อง คว้า ‘นนท์ - ธนนท์ จำเริญ’ พรีเซนเตอร์ปีที่ 2 สานต่อปรากฏการณ์ความสำเร็จจากปีที่ผ่านมาด้วยกลยุทธ์ Music Marketing เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ตอกย้ำ จุดแข็งแบรนด์คุณภาพ พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศกลุ่มอินเวอร์เตอร์รุ่นใหม่ ‘XY Series’ ที่สุดของเทคโนโลยี ‘Fast Cooling Plus’ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่ลงตัว และตู้เย็นกลุ่ม ‘Premium Series’ คุณภาพสูง โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีถนอมอาหาร พร้อมเร่งขับเคลื่อนธุรกิจ B2B มุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

นายชินจิ คามิยะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา จำกัด เปิดเผยว่า “ปี 2566 ที่ผ่านมา วงการธุรกิจเครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ต้องประสบปัญหาการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ล่าช้าไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ แต่อย่างไรก็ตาม จากภาวะอากาศที่ร้อนจัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่งผลให้ประมาณการได้ว่า บริษัทฯ จะสามารถสร้างยอดขายโดยรวมทั้งปีงบประมาณ 2566 (เมษายน 2566 - มีนาคม 2567) ได้เติบโตสูงกว่าปีก่อนหน้าที่ 10%”

“ในกลุ่มผลิตภัณฑ์หลัก เช่น เครื่องปรับอากาศภายในบ้าน ปั๊มน้ำ และพัดลมระบายอากาศ เรายังคงสามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดได้สูงสุดต่อเนื่องจากปีก่อน รวมทั้งผลการดำเนินกิจกรรมการสร้างแบรนด์ยังได้รับผลตอบรับในความไว้วางใจ โดยนิตยสารทางธุรกิจที่มีชื่อเสียง เช่น นิตยสาร Marketeer และ BrandAge ได้จัดอันดับให้ทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศภายในบ้านและปั๊มน้ำมิตซูบิชิ อีเล็คทริค เป็นแบรนด์อันดับ 1 ที่ได้รับความเชื่อถือสูงสุดในประเทศไทยต่อเนื่องจากปีก่อนเช่นกัน”

“สำหรับปี 2567 นี้ บริษัทฯ ยังคงยึดมั่นแนวทางหลักในการดำเนินธุรกิจ ผ่านการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและงานบริการ ตามพันธกิจองค์กรที่วางไว้ โดยมุ่งให้ผลิตภัณฑ์และการบริการ รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทฯ มอบประโยชน์ด้านการสร้างความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคชาวไทย รวมทั้งสร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางสังคมไทยได้มากยิ่ง ๆ ขึ้น”

“และในปีนี้ บริษัทฯ ยังคงตั้งเป้าหมายรักษาอัตราการเติบโตของยอดขายโดยรวมไว้ให้ได้มากกว่า 10% โดยมุ่งเน้นดำเนินการหลัก ๆ 4 ประการ เพื่อบรรลุเป้าหมาย ได้แก่

1.) กิจกรรมด้านผลิตภัณฑ์ โดยพัฒนาในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ให้มีฟังก์ชันการทำงานที่โดดเด่นมากยิ่งขึ้น และเพิ่มความหลากหลายหรือเพิ่ม Line Up ในแต่ละตัวผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศภายในบ้าน ซึ่งจะพัฒนายกระดับประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงานให้สอดรับกับมาตรฐานประหยัดพลังงานฉบับใหม่ที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน 

2.) ในปีนี้ บริษัทฯ ได้เตรียมงบทางการตลาดไว้ ประมาณ 1,200 ล้านบาท โดยมุ่งยกระดับคุณค่าแบรนด์ เพื่อสร้างการจดจำและรับรู้ในแบรนด์ ตลอดจนมุ่งเน้นกิจกรรมการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับร้านค้าให้มากยิ่งขึ้น

3.) ด้านธุรกิจเชิงพาณิชย์ บริษัทฯ ตระหนักว่าธุรกิจในกลุ่มนี้จะเป็นรากฐานการสร้างความเจริญเติบโตให้บริษัทฯ ในอนาคตได้ ดังนั้น จึงกำหนดการสร้างเสริมระบบงานการตลาดการขายที่มีความพร้อม ช่วยสนับสนุนการเจรจาการค้าในส่วนภูมิภาค ควบคู่กับการพัฒนาการนำเสนองาน ให้เป็นที่ยอมรับในการตอบโจทย์ที่ลูกค้าต้องการ หรือโซลูชันในธุรกิจระบบปรับอากาศ ระบบระบายอากาศ ซึ่งเป็นความชำนาญการพิเศษของเรา เพื่อขยายการจัดจำหน่ายในส่วนนี้ให้ได้มากยิ่งขึ้น

4.) งานบริการหลังการขาย เน้นการยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า และพัฒนาระบบงานที่จะรับส่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น งานซ่อมจากลูกค้าให้ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งพัฒนาการเพิ่มทักษะฝีมือของช่างบริการ เพื่อให้สามารถส่งมอบงาน บริการหลังการขายที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น

จากกิจกรรมทางธุรกิจที่ได้กล่าวไปนั้น บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าธุรกิจจะยังคงได้รับความไว้วางใจในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งในปีนี้เราจะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของเราเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคชาวไทยทุกคนต้องการอย่างแท้จริง”

นายประพนธ์ โพธิวรคุณ กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา จำกัด กล่าวว่า “สำหรับกลยุทธ์ด้านบริการหลังการขายในปี 2567 นี้ บริษัทฯ วางแผนลงทุนเพิ่มเติมทรัพยากรที่จำเป็น ได้แก่ การพัฒนาเทคโนโลยีระบบ Online Service เพื่อเพิ่มศักยภาพการบริการ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สามารถรองรับการบริการให้กับลูกค้ามิตซูบิชิ อีเล็คทริค ทั้งกลุ่ม B2C และ B2B ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการลงทุนในส่วนของเครื่องมือที่ทันสมัยและอุปกรณ์ อาทิ การสำรองชิ้นส่วนอะไหล่สินค้าทั้งในส่วนของสำนักงานใหญ่ และศูนย์จำหน่ายอะไหล่แต่งตั้งที่มีอยู่กว่า 40 แห่ง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้ว่ามีอะไหล่พร้อมบริการ พร้อมเสริมความแข็งแกร่งของศูนย์บริการแต่งตั้งที่มีอยู่ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อรองรับการบริการหลังการขายที่ได้มาตรฐานให้กับลูกค้ามิตซูบิชิ อีเล็คทริค ทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังมีช่องทางที่หลากหลายให้ลูกค้าได้ติดต่อกับทางศูนย์บริการ ไม่ว่าจะเป็น Hot Line 1325 รวมถึง Facebook และ Line Official Account : มิตซูบิชิ อีเล็คทริค เป็นต้น”

“ขณะเดียวกันได้เตรียมแผนพัฒนาบุคลากรช่างเทคนิคให้มีความรู้ความสามารถ ผ่านการรับรองในสาขาช่างเครื่องปรับอากาศและการพาณิชย์ขนาดเล็ก ระดับ 1 ซึ่งปัจจุบันช่างเทคนิคของศูนย์บริการมิตซูบิชิ อีเล็คทริค สำนักงานใหญ่ ได้ผ่านการทดสอบหลักสูตรดังกล่าวทั้งหมด และในปีนี้ ยังคงเดินหน้ายกระดับความสามารถของช่างเทคนิค ศูนย์บริการแต่งตั้งทั่วประเทศให้มีศักยภาพและมาตรฐานเดียวกัน

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศไทยสู่มาตรฐานสากล สานต่อ ‘โครงการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ (ระบบทวิภาคี)’ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 ร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคชั้นนำต่าง ๆ โดยมีช่างผู้เชี่ยวชาญของบริษัทฯ เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี ด้านเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ให้กับนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิค ให้มีความรู้และทักษะวิชาชีพ เมื่อจบหลักสูตรแล้วสามารถนำความรู้ไปประกอบวิชาชีพได้ต่อไป

ด้านกลุ่มธุรกิจ B2B เรามีความพร้อมทั้งในด้านผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ และระบบปรับอากาศที่เหมาะสมสำหรับที่อยู่อาศัย และกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่แบบครบวงจร มีทีมงานวิศวกรโครงการและช่างเทคนิคมืออาชีพ รวมถึงสำนักงานสนับสนุนลูกค้าโครงการระบบปรับอากาศซิตีมัลติ (CMS) เพื่อให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายในพื้นที่ต่าง ๆ และพร้อมที่จะทำงานร่วมกับตัวแทนจำหน่าย ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงส่งมอบงาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จและเติบโตไปด้วยกัน”

นายชิซุโอะ นาคาสึคาสะ กรรมการและผู้จัดการทั่วไปส่วนการตลาดและการขาย บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา จำกัด เปิดเผยว่า “ด้านยอดขายเครื่องปรับอากาศภายในบ้านของบริษัทฯ ในปีงบประมาณ 2566 เชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างการเติบโตได้ถึง 30% สำหรับกลยุทธ์การตลาดในปี 2567 นี้ เรายังคงมุ่งมั่นดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่าง แข็งขันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการขาย สำหรับกลุ่ม B2C ได้กำหนดกลยุทธ์การขายเป็นรายผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน โดยกลุ่มเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน เน้นเสนอเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนไทย ที่เย็นเร็ว รู้ใจ ประหยัดไฟยิ่งขึ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ในกลุ่มตู้เย็นจะเน้นส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ที่สูงด้วยคุณภาพและเสริมสร้างการรับรู้ ความน่าสนใจในคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่ยกระดับสูงขึ้นในตู้เย็นกลุ่ม ‘Premium Series’

นอกจากนี้ ในธุรกิจ B2B จะมุ่งเน้นไปที่ระบบงานหลัก ๆ เพื่อให้บรรลุการเติบโตของธุรกิจส่วนนี้ต่อไป ได้แก่ ทำการขยายขอบเขตธุรกิจ (ขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์) และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับยอดขายในช่องทางจัดจำหน่าย CAD (City-Multi Sales Authorized Dealer) โดยบริษัทฯ พร้อมจะสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการนำเสนอโซลูชันต่าง ๆ ที่เหมาะสมให้กับลูกค้าได้ต่อไป”

“ในปีนี้ บริษัทฯ ได้วางแผนสื่อสารการตลาดครบวงจร ทั้งการเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ ผ่านพรีเซนเตอร์ปีที่ 2 ‘นนท์ - ธนนท์ จำเริญ’ พร้อมสานต่อกลยุทธ์ Music Marketing ที่ประสบความสำเร็จในด้านการสร้างการรับรู้และมีส่วนร่วมกับแบรนด์อย่างมากในปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้ยังคงเน้นทำกิจกรรมกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เริ่มเข้าสู่วัยทำงานถึงกลุ่มลูกค้า ผู้มีรายได้ระดับปานกลางเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะทางโซเชียลมีเดียและแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยเน้นสร้างคอนเทนต์ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าในแต่ละกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันได้ทำการสื่อสารผ่านช่องทางทั้ง Offline และ Online Media ควบคู่กันไป พร้อมทั้งเสริมความแข็งแกร่งทางการขายโดยร่วมจัดแคมเปญ กิจกรรมส่งเสริมการขายต่าง ๆ ร่วมกับร้านค้าตัวแทนจำหน่ายควบคู่ต่อเนื่องต่อไปด้วยเช่นกัน”

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนายกระดับความสุขสบายในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ผ่านผลิตภัณฑ์ที่สูงด้วยคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ ความทนทาน พร้อมนวัตกรรม และการประหยัดพลังงาน ได้ตามค่ามาตรฐานใหม่ที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกำหนดขึ้น โดยผลิตภัณฑ์หลัก ๆ ที่เปิดตัวในปีนี้ ได้แก่

• เครื่องปรับอากาศมิตซูบิชิ อีเล็คทริค มิสเตอร์สลิม ระบบอินเวอร์เตอร์ ในรุ่น XY Series ด้วยเทคโนโลยีล่าสุด ‘Fast Cooling Plus’ ที่ทำความเย็นได้อย่างรวดเร็วเมื่อเครื่องปรับอากาศทำงาน มาพร้อมเซนเซอร์ตรวจจับโดยคำนวนจากอุณหภูมิภายในห้องนั้น เพื่อปรับความเย็นและลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมที่สุด เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับความสบายสูงสุดและเหมาะกับสภาพในขณะนั้นได้อย่างอัตโนมัติ รวมทั้งรุ่น GY Series ที่ได้รับการออกแบบใหม่ให้มีดีไซน์หรูหราขึ้น และมีประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานที่สูงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ทุกรุ่น ได้พัฒนาให้คุณภาพอากาศภายในห้องดียิ่งขึ้นด้วยการเพิ่ม ‘V-Air Filter’ และ ‘PM2.5 Filter’ แผ่นกรองฝุ่นที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเฉพาะ สามารถกำจัดไวรัส แบคทีเรีย และดักจับฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างดี ซึ่งล้วนเป็นฟังก์ชันที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อความใส่ใจในสุขภาพของผู้ใช้เป็นสำคัญ

• ตู้เย็นมิตซูบิชิ อีเล็คทริค ‘Premium Series’ คุณภาพสูง ทนทาน โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีถนอมอาหาร มีให้เลือกถึง 7 รุ่น ใน 5 ซีรีส์ อาทิ ตู้เย็นแบบ 2 ประตูรุ่นใหม่ ‘HS Series’ โดดเด่นด้วยช่องแช่แข็งที่มีขนาดความจุใหญ่ขึ้น และเพิ่มความสะดวกในการใช้งานด้วยการออกแบบให้ช่องแช่อเนกประสงค์พิเศษและช่องแช่ผักอยู่ในตำแหน่งส่วนกลางของตัวตู้เย็น ทำให้ผู้ใช้หยิบจับอาหารในช่องชั้นต่าง ๆ ได้สะดวก นอกจากนี้ ที่ช่องแช่อเนกประสงค์พิเศษในตู้เย็น ‘Premium Series’ ของมิตซูบิชิ อีเล็คทริค ยังออกแบบให้สามารถปรับตั้งค่าอุณหภูมิได้ (โดยเลือกโหมด Chill หรือ Soft Freezing) ซึ่งเป็นฟังก์ชันพิเศษที่สามารถลดเวลาทำละลายเนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาได้อย่างมาก สามารถนำออกไปปรุงอาหารได้ในทันที ถือว่าเป็นตู้เย็นที่ถนอมอาหารได้ยาวนานขึ้น และในตู้เย็นแบบ 4 ประตู ได้เพิ่มสีใหม่ ‘Glass Dark Silver’ ดูหรูหราและสวยงามมากยิ่งขึ้น

• พัดลมมิตซูบิชิ อีเล็คทริค ตั้งพื้นกึ่งตั้งโต๊ะ รุ่นใหม่ เพิ่มสองสีใหม่ คือ ฟ้าพาสเทล และเขียวพาสเทล พร้อมดีไซน์ตะแกรงหน้าแบบเรียบ สามารถส่งลมได้แรงขึ้น ไกลขึ้น และพัดลมรุ่น R12-MC มีใบพัดที่ออกแบบใหม่ สามารถถอดและทำความสะอาดได้ง่าย เพียงคลิกเดียว นอกจากนี้ พัดลมมิตซูบิชิ อีเล็คทริค ทุกรุ่น ยังมีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐาน Premium Safety พร้อมรับประกันมอเตอร์ 5 ปี

• ปั๊มน้ำ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ยกระดับความน่าเชื่อถือไปอีกขั้น ด้วยการขยายระยะเวลาการรับประกันมอเตอร์ถึง 11 ปี พร้อมประสิทธิภาพการกระจายความร้อนสูงด้วยโครงสร้างมอเตอร์อะลูมิเนียมที่ทนทานและมีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐาน Premium Safety

“อีกกลยุทธ์หนึ่งที่เรามุ่งเน้น คือ การสร้างการรับรู้ในแบรนด์ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค อย่างต่อเนื่อง โดยต่อยอดแนวคิดจากปี 2566 ‘ไม่หยุดทำ แค่คำว่าดี’ โดยในปีนี้ เราจะนำเสนอแนวคิดใหม่ คือ ‘แอร์ที่ใช่ ใส่ใจทุกรายละเอียด’ ซึ่งสะท้อนถึงการให้ความใส่ใจในทุกรายละเอียดและเสริมสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์อย่างต่อเนื่อง จากแนวคิดดังกล่าว บริษัทฯ จึงได้ผลิตภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ขึ้นใหม่ 3 เรื่อง ผ่านการนำเสนอโดยพรีเซนเตอร์ คุณนนท์ ธนนท์ ที่สื่อให้เห็นถึงเจตนารมย์ของมิตซูบิชิ อีเล็คทริค ที่จะมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง รวมทั้งแนะนำจุดเด่นต่าง ๆ ด้วยเนื้อหาที่ง่ายต่อการจดจำในผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศมิตซูบิชิ อีเล็คทริค มิสเตอร์สลิม ให้แก่ผู้บริโภค”

“จากกลยุทธ์การตลาดต่าง ๆ เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจ และเพิ่มทางเลือกที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ บริษัทฯ มั่นใจว่าจะช่วยสานต่อความสำเร็จในการทำตลาดของมิตซูบิชิ อีเล็คทริค และผลักดันยอดขายให้เติบโตได้ตามเป้าหมาย รวมถึงผลักดันให้ผลิตภัณฑ์มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ได้เข้าสู่ตลาดอย่างกว้างขวาง เพื่อนำเสนอให้ผู้บริโภคได้ใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ซึ่งบริษัทฯ มั่นใจว่า สิ่งนี้จะยังประโยชน์สู่สังคมโดยรวมในที่สุดได้” นายชิซุโอะ นาคาสึคาสะ กล่าวทิ้งท้าย

‘พาณิชย์’ เล็งส่งสินค้าสูตรโซเดียมต่ำตีตลาดญี่ปุ่น สอดรับนโยบาย รบ.ญี่ปุ่น รณรงค์ลดบริโภครสเค็ม

(10 ส.ค. 66) นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าจากการติดตามสถานการณ์การค้าในต่างประเทศ ตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มาโดยต่อเนื่องนั้น ล่าสุดได้รับรายงานจากนายฉันทพัทธ์ ปัญจมานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ถึงสถานการณ์สินค้าอาหารในญี่ปุ่น

โดยทูตพาณิชย์รายงานว่า กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น ได้ตั้งเป้าปริมาณการบริโภคเกลือของประชากรอายุ 20 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 7.0 กรัมต่อวัน ในปี 2567 ซึ่งเป็นเป้าหมายภายใต้โครงการ ‘ญี่ปุ่นสุขภาพดี 21’ หลังจากการสำรวจสุขภาพและโภชนาการของประชาชน พบว่า คนญี่ปุ่นบริโภคเกลือเฉลี่ยวันละ 10 กรัม ซึ่งเป็นสองเท่าของปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ โดยร้อยละ 70 ของการบริโภคเกลือของคนญี่ปุ่นมาจากเครื่องปรุง ไม่ว่าจะเป็น ซอสโชยุ เต้าเจี้ยวมิโซะ เกลือ ซุป ซอสต่างๆ ฯลฯ แหล่งการบริโภคเกลือของกลุ่มผู้บริโภคแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน เช่น กลุ่มผู้สูงอายุบริโภคเกลือจากผักดอง กลุ่มคนหนุ่มสาวบริโภคเกลือจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องแกงกะหรี่ ซึ่งเป็นสินค้าอาหารแปรรูป เป็นต้น จึงคาดการณ์ได้ว่า สินค้าอาหารแปรรูปลดเกลือมีแนวโน้มความต้องการของตลาดสูงขึ้นในอนาคต

ซึ่งการบริโภคเกลือปริมาณมากเกินไปยังเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญในด้านความยั่งยืนของระบบประกันสังคม ซึ่งคนญี่ปุ่นช่วงอายุ 40 - 59 ปี 1 ใน 3 คน และคนที่อายุมากกว่า 60 ปี 1 ใน 2 คนเป็นโรคความดันสูง

นอกจากนี้ ในอดีตคนญี่ปุ่นเป็นเส้นเลือดในสมองตีบหรืออุดตันจำนวนมาก โดยมีสาเหตุจากการบริโภคเกลือมากเกินไป ความอ้วน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขาดการออกกำลังกาย ฯลฯ การแก้ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องร่วมมือกันแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาล ภาคเอกชน อาทิ ผู้ผลิตอาหาร ร้านอาหาร ฯลฯ ทั้งนี้ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตอาหารของญี่ปุ่นพยายามวิจัยและพัฒนาสินค้าอาหารลดเกลือภายใต้คอนเซปต์ ‘อร่อย สุขภาพดี สะดวก’ สินค้ามีความหลากหลายออกจำหน่ายมากขึ้น ภายในซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งมีชั้นวางสินค้าที่รวบรวมสินค้าเหล่านี้เอาไว้โดยเฉพาะ แสดงให้เห็นถึงความสนใจของผู้บริโภคต่อสินค้าเกลือต่ำ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดในการบริโภคเกลือ

“ประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกสินค้าอาหารสำคัญของญี่ปุ่น หากผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตอาหารแปรรูปหรือวัตถุดิบที่ตรงกับความต้องการและแนวทางการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่น ก็อาจได้รับความสนใจจากผู้ซื้อมากยิ่งขึ้นและเป็นโอกาสในการขยายตลาดและมูลค่าการส่งออกสู่ประเทศญี่ปุ่นต่อไป” นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าว

ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศระบุว่า ช่วงเดือน มกราคม-มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกสินค้าอาหารไปญี่ปุ่นแล้วมูลค่ากว่า 59,243 ล้านบาท

หนุนความเชื่อมั่น!! กูรูหลักทรัพย์มอง ‘เพื่อไทย’ จัดตั้งรัฐบาล เพิ่มแรงส่ง ‘ตลาดหุ้น-คลายกังวลขึ้นภาษี’


(20 ก.ค. 66) หลังจากเมื่อวานนี้ มติศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องคดีหุ้นสื่อไอทีวี และสั่งให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ไว้ก่อน ขณะที่ที่ประชุมรัฐสภาลงความเห็นห้ามนำญัตติที่ตกไปแล้วเสนอซ้ำ จึงเสนอชื่อพิธาโหวตนายกฯ รอบ 2 ไม่ได้ โดยเตรียมโหวตนายกฯ ครั้งต่อไปในวันที่ 27 ก.ค. 66 นั้น

ด้าน นายกิจพณ ไพรไพศาลกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและนักกลยุทธ์ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นมีความชัดเจนด้านการเมืองพอสมควร ปัจจุบันเหลือเพียง 2 scenario คือ…

1.พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมี ‘ก้าวไกล’ ร่วมรัฐบาล และ
2.มีพรรคเพื่อไทยแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่พรรคก้าวไกลเป็นฝ่ายค้าน

แต่ไม่ว่าผลจะออกมาทางใด มองเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น จากการที่ตลาดมีความเชื่อมั่นในทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย ทั้งยังลดแรงกดดันจากความกังวลนโยบายพรรคก้าวไกล ในเรื่องการเก็บภาษีหุ้น Capital Gain Tax  ภาษีความมั่งคั่งเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ภาษีนิติบุคคล ฯลฯ การปรับลดราคาพลังงาน ทำให้เราประเมินว่าว่าภาพโดยรวมของตลาดหุ้น จะมีแรงส่งจากทิศทางการเมืองที่มีความชัดเจนขึ้น และน่าจะเป็นปัจจัยดึงดูดโฟลว์จากต่างประเทศเข้าไทยได้ต่อเนื่องไประยะหนึ่ง

นายกิจพณ กล่าวอีกว่า หากมองเปอร์เซนต์โอกาสที่ ‘พรรคก้าวไกล’ จะมาเป็นพรรคร่วมรัฐบาลแค่ 30% แต่หากได้ทั้ง 2 พรรคมาร่วมรัฐบาล จะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นมากกว่าในแง่ความเป็นเอกภาพ แต่หากเป็นการดึงจากหลายพรรค มาแทนที่ ‘ก้าวไกล’ เพื่อให้ได้เสียงเพียงพอ อาจมีความเสี่ยงเรื่องอำนาจต่อรอง เก้าอี้ รมต. และผลประโยชน์การบริหารกระทรวงต่างๆ

ทั้งนี้หากมองถึงปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกว่า ปัจจุบันมีความนิ่งพอสมควร ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยุติวงจรการขึ้นดอกเบี้ย อีกทั้งราคาน้ำมันดิบที่เคยกดดันในครึ่งปีแรก ปรับลดลงจนส่งผลต่อกำไรหุ้นพลังงานที่คิดเป็น 1 ใน 3 ของกำไรตลาด แต่ครึ่งปีหลัง เข้าสู่ฤดูหนาว เศรษฐกิจสหรัฐก็ไม่ได้ถดถอยอย่างรุนแรง และประเทศจีนเปิดประเทศ ทั้งหมดนี้ทำให้ภาพของราคาน้ำมันดิบมีโอกาสการฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง ซึ่งเป็นผลดีต่อกำไรตลาดในครึ่งปี มีโอกาสจะปรับขึ้นด้วย

สำหรับ บล.ยูโอบีฯ ให้กรอบเป้าหมายดัชนีหุ้นไทยปี 66 ที่ 1450- 1630 จุด พีอี 16 เท่า พร้อมมองการฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทยในครึ่งปีหลัง จากปัจจัยการเมืองในประเทศ และผลประกอบบริษัทจดทะเบียนได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว อีกทั้งกลุ่มพลังงานที่จะมีแรงส่งจากราคาน้ำมันดิบที่เริ่มขยับขึ้น จะทำให้ดัชนี SET ค่อยๆ ฟื้นจากระดับ 1500 จุด ในปัจจุบันได้

>> ทรีนีตี้ จับตา ‘ภูมิใจไทย’ มาแรงร่วมรัฐบาล
ด้าน บล.ทรีนีตี้ จำกัด โดยนายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ ได้เผยบทวิเคราะห์ล่าสุด ว่า มองกรณีที่ประชุมรัฐสภา (19 ก.ค.) ลงมติเห็นด้วยกับข้อบังคับการประชุม 41 ที่ห้ามมีการเสนอญัตติซ้ำเป็นครั้งที่สอง เป็นตัวจุดประกายให้ ‘พรรคเพื่อไทย’ ซึ่งจะเป็นพรรคลำดับถัดไปในการเสนอชื่อนายกฯรัฐมนตรีนั้น เดินเกมส์ที่ปลอดภัยมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการโหวตนายกฯ ที่มาจากแคนดิเดตพรรคนั้น จะประสบความสำเร็จตั้งแต่รอบแรก ด้วยวิธีการ 2 แบบ ดังต่อไปนี้…

1) การไปดึงพรรคอื่นมาเพิ่มเติมเสียงให้กับกลุ่มจัดตั้งรัฐบาลที่มีอยู่ 8 พรรคเดิม อาทิ การจับมือกับพรรคภูมิใจไทยเข้ามา ซึ่งก็จะทำให้มีคะแนนเสียงส.ส.ในมือรวมกันใหม่เป็น 384 ที่นั่ง เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา
2) การตัดสินใจข้ามขั้วไปจับมือกับแกนนำฝั่งพรรคอนุรักษ์นิยมทันที เช่นพรรคภูมิใจไทย พลังประชารัฐ เพื่อเรียกคะแนนเสียงจากสว.ให้ลงมติหนุนนายกที่มาจากแคนดิเดตเพื่อไทย รวมกันเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา

Winner : ไม่ว่าในกรณีไหน มองโอกาสในการก้าวขึ้นมาเป็นพรรคร่วมรัฐบาลของภูมิใจไทย ซึ่งเป็นพรรคอันดับ 3 ตอนนี้มีสูงมาก ประเด็นนี้อาจทำให้เห็นแรงเก็งกำไรต่อเนื่องไปยังกลุ่มหุ้นที่ STEC, STPI, เชื่อมโยงกับพรรคดังกล่าวอย่างเช่น PTG เป็นต้น

สำหรับใน 3 ตัวนี้มี PTG ที่อยู่ภายใต้ Coverage ของเรา โดยในเชิงพื้นฐานแม้แนะนำ ‘ถือ’ แต่มีประเด็นเชิงบวกล่าสุดได้แก่ การที่กบน.มีมติใช้กองทุนน้ำมันฯ ตรึงราคาดีเซลให้อยู่ที่ 32 บาทต่อลิตร หลังมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลจะสิ้นสุดลงในวันที่ 20 ก.ค.

>> เอเซียพลัส : มองการเมืองบวกกับตลาดหุ้น คาดได้รัฐบาลใหม่ช่วงส.ค.66
ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่ามีความเป็นไปได้สูงที่พรรคที่ได้ ส.ส.มากเป็นอันดับ 2 อย่าง ‘พรรคเพื่อไทย’ จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ ในการประชุมรัฐสภา 27 ก.ค.66 ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ คาดว่าพรรคเพื่อไทย จะต้องดำเนินการให้เรียบร้อยในครั้งนี้ (27 ก.ค. 66)

เนื่องจากการประชุมสภารอบที่ผ่านมา มีข้อสรุปว่าไม่สามารถเสนอรายชื่อ บุคคลเดิมเป็นแคนดิเดตนายกฯซ้ำได้ ภายใต้สถานการณ์อื่นไม่เปลี่ยนเป็น ‘ญัตติต้องห้าม’ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 41 ในเบื้องต้น โดยเชื่อว่ามีโอกาสที่จะได้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศในช่วง ส.ค.66 โดย Scenario ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ มีดังนี้…

- พรรคเพื่อไทย จับมือพรรคร่วมรัฐบาลเดิมทั้ง 8 พรรค และสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ
- พรรคเพื่อไทย จับมือพรรคร่วมรัฐบาลใหม่ โดยไม่มีพรรคก้าวไกล และยังเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร

นอกจากนี้ ยังได้ประเมินภาพการเมืองในช่วงนี้ว่า อยู่ในวิสัยที่สามารถคาดการณ์ได้มากขึ้น และน่าจะทำให้ดาวน์ไซด์ของ SET Index จำกัด โดยเชื่อว่าน่าจะได้รัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศได้ในช่วงเดือน ส.ค. 66 จะมีก็แค่ ‘ความเสี่ยงนอกสภาฯ’ ที่หากมีความรุนแรงและยืดเยื้อขึ้น จะเป็นปัจจัยกดดัน SET Index อีกครั้ง ซึ่งหากพิจารณา Google Trends คำว่า ‘ม็อบ-ประท้วง-Protest’ ในปัจจุบันยังอยู่ระดับต่ำกว่าในอดีตมาก
 

STOCK

TVDH โอนส่วนล้ำมูลค่าหุ้น ล้างขาดทุนกว่า 241.7 ลบ. หวังเปิดทางจ่ายปันผล หากมีกำไรในอนาคต

เมื่อวานนี้ (29 ก.พ. 67) บมจ.ทีวีดี โฮลดิ้งส์ (TVDH) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทฯ มีมติให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 เพื่อพิจารณาอนุมัติการโอนส่วนล้ำมูลค่าหุ้น จำนวน 241,723,180 บาท เพื่อชดเชยผลขาดทุนสะสมของงบการเงินเฉพาะกิจการสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 241,723,180 บาท ภายหลังจากการชดเชยผลขาดทุนสะสมดังกล่าวแล้ว ผลขาดทุนสะสมของบริษัทฯ จะเท่ากับศูนย์ ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ สามารถจ่ายเงินปันผลได้หากมีกำไรในอนาคต

'ตลท.' เตือนนักลงทุนเทรด 'หุ้นมิสแกรนด์' หลังถูกพักซื้อขายไปเมื่อ 23 ก.พ. ชี้!! หากจะลงทุน ต้องศึกษาข้อมูลเท็จจริง ที่สอดรับกับปัจจัยพื้นฐานก่อน

(27 ก.พ. 67) รายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภายหลังหลักทรัพย์บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MGI ถูกหยุดพักการซื้อขายเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นเวลา 1 วัน เนื่องจากมีสภาพการซื้อขายเปลี่ยนแปลงไปไม่สอดรับปัจจัยพื้นฐาน โดยกลับมาซื้อขายได้ตั้งแต่ในภาคเช้าของวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไปนั้น

ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและมีพื้นฐานประกอบ (material information) ก่อนเข้าซื้อ MGI เนื่องจากปัจจุบันค่า P/E และ P/BV อยู่ในระดับ 88.05 เท่า และ 22.64 เท่า ตามลำดับ (ปรับด้วยผลการดำเนินงานงวดปี 2566 แล้ว) โดยเช้าวันนี้ MGI แจ้งสารสนเทศการเปิดตัวงานแกรนด์คอนเสิร์ต อิน ยูเอสเอ ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2567 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจปกติของบริษัทที่ดำเนินการอยู่แล้วในส่วนของธุรกิจสื่อและบันเทิง

สำหรับสภาพการซื้อขายหลักทรัพย์ หากพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไม่สอดรับปัจจัยพื้นฐานอีก หลักทรัพย์ MGI จะถูกหยุดพักการซื้อขายอีกเป็นเวลา 1 วัน ตามหลักการของมาตรการกำกับการซื้อขายระดับ 3 (ระดับสูงสุด) ซึ่งในปัจจุบัน MGI ยังคงอยู่ในมาตรการระดับนี้

สรุปสภาพการซื้อขายหลักทรัพย์ MGI โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 6-22 กุมภาพันธ์ 2567 (13 วันทำการ)

- การซื้อขายปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในเวลาอันสั้น เกินปัจจัยพื้นฐานของบริษัท แม้จะอยู่ในมาตรการกำกับการซื้อขาย
- ราคาเพิ่มขึ้น 74% จาก 28.75 บาท มาเป็น 50 บาท (All Time New High)
- มูลค่าการซื้อขายในช่วงก่อนเข้ามาตรการระดับสูงสุด สูงอยู่ใน 3 ลำดับแรกของ mai
- เข้ามาตรการกำกับการซื้อขาย 3 ครั้ง (เข้ามาตรการระดับสูงสุด 2 ครั้ง)

หุ้น ‘Nvidia’ พุ่งแตะ!! 6.4% และปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลังประกาศเปิดตัวการ์ดจอ AI หวังมัดใจผู้ชื่นชอบวิดีโอเกม

(9 ม.ค. 67) หุ้นอินวิเดีย (Nvidia) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิปที่มีมูลค่าตลาดมากที่สุดในโลกจากสหรัฐ พุ่งขึ้นสู่ระดับปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันจันทร์ (8 ม.ค.) หลังอินวิเดียเปิดตัวหน่วยประมวลผลภาพกราฟิก (GPU) หรือ การ์ดจอ รุ่นใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ (AI)

ทั้งนี้ หุ้นอินวิเดียปรับตัวขึ้น 6.4% ปิดที่ 522.53 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้นในวันจันทร์ ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลังอินวิเดียประกาศเปิดตัวการ์ดจอรุ่น GeForce RTX 40 SUPER Series โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเอาใจกลุ่มผู้ชื่นชอบวิดีโอเกม

นอกจากนี้ ก่อนถึงกำหนดจัดงานแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภค (Consumer Electronics Show) ในลาสเวกัส อินวิเดียยังได้ประกาศเปิดตัวชิ้นส่วนและซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับ AI

หุ้นอินวิเดียพุ่งขึ้นกว่า 3 เท่าตัวในปี 2566 เนื่องจากถูกมองว่าเป็นผู้นำในแวดวงซัพพลายเออร์ด้านการประมวลผลที่ใช้ในการคำนวณ AI

ด้าน แอลเอสอีจี (LSEG) ระบุว่า หุ้นอินวิเดียมีปริมาณการซื้อขายมูลค่ากว่า 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในวันจันทร์ ซึ่งสูงที่สุดในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท โดยปัจจุบันมูลค่าตลาดของอินวิเดียอยู่ที่เกือบ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

การปรับตัวขึ้นครั้งล่าสุดของหุ้นอินวิเดียหนุนให้ดัชนีชิปเซมิคอนดักเตอร์ PHLX พุ่งขึ้น 3.3%

BIZ

‘BWG-ETC-GULF’ ปิดดีลใหญ่ 2 หมื่นล้านบาท ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตฯ-ผลิตเชื้อเพลิง

‘BWG-ETC’ บิ๊กดีลผนึกร่วมลงทุน GULF ลุยลงทุนโรงไฟฟ้าขยะ-ผลิตเชื้อเพลิง SRF 20,800 ล้านบาท ประกาศขึ้นแท่นผู้ดำเนินโครงการ โรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมเบอร์1ของประเทศ

(12 มี.ค. 67) บมจ.เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน หรือ BWG, บมจ.เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ หรือ ETC, และบมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF ร่วมลงนามลงทุนโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม จำนวน 12 โครงการ และโครงการลงทุนโรงงานผลิตเชื้อเพลิง SRF จำนวน 3 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 20,800 ล้านบาท ตอกย้ำการเป็นผู้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมเบอร์ 1 ของประเทศ

นายศุภวัฒน์  คุณวรวินิจ รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ETC เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติให้บริษัทฯ ร่วมลงนามในสัญญาผู้ถือหุ้นกับ บริษัท กัลฟ์ เวสท์ ทู เอ็นเนอร์จี โฮลดิ้งส์ จำกัด หรือ GWTE ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF เพื่อร่วมพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม จำนวน 12 โครงการ และโครงการลงทุนโรงงานผลิตเชื้อเพลิง SRF จำนวน 3 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 20,800 ล้านบาท ดังนี้

1.การลงนามในสัญญาผู้ถือหุ้นระหว่าง ETC กับ GWTE เพื่อเข้าลงทุนในบริษัทเก็ท กรีน พาวเวอร์ จำกัด หรือ GGP ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม จำนวน 10 โครงการ เพื่อจำหน่ายไฟฟ้ารวม 80 เมกะวัตต์ ในสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 50:50 ซึ่ง GWTE มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจพร้อมทั้งมีศักยภาพทางการเงิน เนื่องจากการลงทุนในโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม จำนวน 10 โครงการใช้เงินลงทุนถึง 15,000 ล้านบาท

2.การลงนามในสัญญาผู้ถือหุ้นระหว่าง BWG กับ GWTE เพื่อเข้าร่วมลงทุนในบริษัท เซอร์คูลาร์ แคมป์ จำกัด (CC) ผู้พัฒนาโครงการโรงงานผลิตเชื้อเพลิงจากขยะอุตสาหกรรม (SRF) จำนวน 3 โครงการ ในสัดส่วนการถือหุ้น 50:50 เช่นกัน มูลค่าโครงการรวม 2,600 ล้านบาท เพื่อจำหน่ายเชื้อเพลิงจากขยะอุตสาหกรรม (SRF) ให้กับโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมทั้ง 12 โครงการ

3.การลงนามสัญญาผู้ถือหุ้นระหว่าง ETC กับ GWTE และบริษัท เวสท์เทค เอ็กซ์โพเนนเชียล จำกัด (WTX) เพื่อให้ ETC เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในโครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมจำนวน 2 โครงการ ภายใต้บริษัท ซันเทค อินโนเวชั่น พาวเวอร์ จำกัด (SIP) โดยการเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุน ซึ่งปัจจุบัน GWTE และ WTX ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 51.00 และ 49.00 ตามลำดับ ซึ่งภายหลังจากการเพิ่มทุนดังกล่าวจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นใน SIP ของ ETC อยู่ที่ 33% GWTE อยู่ที่ 34% และ WTX อยู่ที่ 33% ซึ่งปัจจุบัน SIP มีการดำเนินการ ไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมทั้ง 2 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 3,200 ล้านบาท โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา รวม 16 เมกะวัตต์ ซึ่งได้เข้าลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นระยะเวลา 20 ปี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อ วันที่ 16 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา

ด้าน นายสุวัฒน์ เหลืองวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) หรือ BWG กล่าวว่า ความร่วมมือกับ GULF ในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำการเป็นผู้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมเบอร์ 1 ของประเทศ โดยการดำเนินธุรกิจด้านโรงงานผลิตเชื้อเพลิงจากขยะอุตสาหกรรมของ BWG รวมทั้งโครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมของ ETC และบริษัทในเครือถือเป็นการให้ความสำคัญด้านการลงทุนที่สร้างโอกาสการเติบโตของเศรษฐกิจหมุนเวียนตามนโยบายภาครัฐ Bio-Circular-Green Economy (BCG) โดยการนำขยะอุตสาหกรรมมาแปรรูปเพื่อเป็นพลังงานนี้ จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อลดปริมาณของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสอดรับกับนโยบายของภาครัฐที่มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านพลังงานสีเขียว และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

“BWG มีประสบการณ์มามากกว่า 20 ปี ในการเป็นผู้ให้บริการด้านการจัดการกากอุตสาหกรรม (ขยะอุตสาหกรรม) อย่างครบวงจร และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงการแปรรูปขยะอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นของเสียอันตรายเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตไฟฟ้า (SRF) และ ETC เป็นผู้ที่มีความชำนาญในการผลิตไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมและขยะ ชุมชนที่มีมาตรฐานสูง”

ล่าสุดบอร์ดเคาะอนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ แบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จำนวน 540,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท (Par) เพื่อเสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) และอนุมัติการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ ครั้งที่ 6 (BWG-W6) จำนวน 900,199,539 หน่วยเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม เพื่อนำเงินที่ได้รองรับการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมกับผู้ร่วมทุนอื่นจำนวน 10 โครงการ และ 2 โครงการ จากการเข้าทำรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ของบริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน)

'แสนสิริ' โชว์กำไรเติบโตเกือบ 50% แซงหน้าทุกค่ายอสังหาฯ สูงสุดนับแต่ก่อตั้งมา 40 ปี อานิสงส์กลุ่มบ้านหรูช่วยดัน

(1 มี.ค.67) Business Tomorrow เผย SIRI บริษัทอสังหาริมทรัพย์รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า ปี 2023 มีกำไรสุทธิสูงถึง 6.06 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น +42% จากปีก่อน สูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งมาได้ 40 ปี หรือ All-time high คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 15.5% ทุบสถิติใหม่ ทำให้แสนสิริมีอัตราการเติบโตด้านกำไรสุทธิสูงที่สุดแซงหน้ากลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด

โดยปี 2023 มียอดขายรวม 4.9 หมื่นล้านบาท รายได้รวม 3.91 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +12% จากปีก่อนหน้า มาจากการเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งบ้านและคอนโดฯ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มบ้านและคอนโดในแบรนด์ Luxury

ส่วนปี 2024 นี้ เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ 46 โครงการ มูลค่ารวม 6.1 หมื่นล้านบาท โดยเป็นคอนโดมิเนียม 10 แห่ง มูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท ในต่างจังหวัดและชานเมือง ซึ่งยังคงมองการขยายกลุ่มบ้านราคาแพง และกลับไปรุกหัวเมืองท่องเที่ยวและจังหวัดใหญ่อย่างต่อเนื่อง

ด้านการตั้งเป้ายอดขายปีนี้ จะอยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาท และเป้ายอดโอนที่ 4.3 หมื่นล้านบาท รวมทั้งมีการวางกลยุทธ์ให้ความสำคัญกับวินัยทางการเงินเพื่อรักษาระดับสภาพคล่องไว้ที่ 1.7 หมื่นล้านบาท 

สุดท้าย แสนสิริเตรียมประกาศจ่ายเงินปันผลประจำปีให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.20 บาท โดยได้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลเมื่อเดือนกันยายน 2023 ไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.10 บาท เตรียมจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้ายในเดือนพฤษภาคมนี้ ในอัตราหุ้นละ 0.10 บาท คิดเป็น Dividend Yield ปี 2023 อยู่ที่ 10.8%

ILINK เผยผลงานทั้งปี 66 พลิกบวก โกยรายได้ 4 ไตรมาสเกือบ 7 พันล้าน ลุ้น!! โปรเจกต์ใหญ่เกาะสมุย ช่วยดันรายได้ทั้งปี 67 ทะลุ 7 พันล้านตามเป้า

ILINK ฟอร์มดี ปิดงบปีไตรมาส 4/66 สวย!! กวาดรายได้รวม 6,965.19 ล้านบาท ตอบรับทำกำไรโตเพิ่ม 170.23 ล้านบาท ฟื้นตัวต่อเนื่อง 31.41% ประกาศปันผล 0.39 บาทต่อหุ้น (พาร์ 1 บาท) ผลงานเป็นที่ประจักษ์ขานรับรายได้โดดเด่น เกินที่คาดการณ์ แน่วแน่ปักธงชัยดันรายได้ปี 67 ตั้งเป้าแตะ 7,002 ล้านบาท ลุยวางแผนเติม Backlog แน่น หนุนเต็มสูบลุ้นคว้างานประมูลใหญ่สายเคเบิลใต้น้ำเกาะสมุย มุ่งดันทุกกลุ่มธุรกิจในเครือให้สำเร็จตามเป้าหมาย ทำรายได้ สร้างกำไรเพิ่มเป็นเท่าตัวอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน แบบมีคุณภาพ เน้นทำกำไร New High ต่อเนื่อง และปันผลเพื่อยืนยันการเป็นหุ้นปันผล 

(28 ก.พ.67) บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK เผยตัวเลขผลประกอบการ โดยทำรายได้รวมจาก 3 กลุ่มธุรกิจในเครือ ได้แก่ ธุรกิจจัดจำหน่ายสายสัญญาณ ธุรกิจวิศวกรรมโครงการ และธุรกิจโทรคมนาคมและดาต้าเซ็นเตอร์ อยู่ที่ 6,965.19 ล้านบาท ปิดงบปี 2566 ไตรมาสที่ 4 นี้ พร้อมกำไรสำหรับงวดรวม 712.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 170.24 ล้านบาท พุ่งแรง 31.41% ตามยุทธศาสตร์ที่ตั้งเป้า 'จะเติบโตแบบมีคุณภาพ ทั้งรายได้ และกำไรสุทธิ' 

โดยมีภาพรวมที่แสดงให้เห็นถึงการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนที่เด่นชัด ตอกย้ำการเป็นบริษัทฯ ที่ประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยี ตามอุดมการณ์ที่จะนำเทคโนโลยีมาพัฒนาประเทศไทย พร้อมประกาศย้ำชัดปี 2567 ปักธงดันยอดขายในกลุ่มธุรกิจจัดจำหน่ายสายสัญญาณ ผลิตภัณฑ์ LINK AMERICAN มั่นใจมีแนวโน้มกอบโกยรายได้เพิ่มขึ้น ทำกำไรบวก รวมถึงเร่งผลักดันทุกธุรกิจในเครือของกลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ฯ ให้เดินหน้า ปรับตัวพร้อมพัฒนาก้าวให้ทันเทรนด์เทคโนโลยีโลกแห่งยุค ซึ่งจะหนุนให้ทั้งปี 2567 เติบโตโดดเด่น

สำหรับรายได้ของกลุ่มธุรกิจจัดจำหน่ายสายสัญญาณ (Cabling Distribution Business) สร้างผลงานทำรายได้ทั้งปี 2566 รวมมูลค่า 2,881.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 366.27 ล้านบาท หรือ 14.56% โดยทำกำไรสุทธิรวม 309.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 105.76 ล้านบาท หรือเติบโต 51.82% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลประกอบการที่ดี ซึ่งเติบโตหลัก ๆ เพิ่มขึ้นมาจากรายได้ที่ดีขึ้นของสินค้าในหมวดของสาย LAN 

ส่วนในหมวดของสาย Solar ซึ่งประเทศไทยมีโครงการสนับสนุนโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) และเทรนด์ของโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ (Floating Solar) รวมทั้งผลิตภัณฑ์ LINK AMERICAN ที่ ILINK เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในอาเซียน ยังถูกจัดเป็นแบรนด์ชั้นนำอันดับต้น ๆ ของโลกอีกด้วย และ ILINK ยังเป็นผู้นำตลาดของระบบสายสัญญาณ โดยเป็นผู้ชี้นำตลาดของประเทศไทยและอาเซียนที่มีการขยายตัวอย่างมากอีกด้วย 

ทั้งนี้คาดการณ์รายได้ในไตรมาส 1/67 ของกลุ่มธุรกิจนี้ จะยังคงมีรายได้ ทำกำไรเติบโตต่อเนื่อง ผลสืบเนื่องจากยอดขายสินค้า ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ ที่ได้เปิดตัวไปอย่างยิ่งใหญ่ในกลุ่มของ Super S Series ได้แก่ UTP CAT 6A และ FTTR (Fiber Optic To The Room Solution) โดยคิดค้นพัฒนามาเพื่อตอบโจทย์แก่เทคโนโลยีแห่งยุค จึงมั่นใจว่าทิศทางของผลประกอบการเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพกับราคาแล้ว ผลิตภัณฑ์ LINK AMERICAN และ GERMAN RACK ในไตรมาสถัดไป จะสามารถผลักดันยอดขายให้สอดรับกับการเติบโตของตลาดธุรกิจโลกที่เปิดกว้างมากขึ้น และจะเป็นผลตอกย้ำให้กลุ่มธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ พร้อมทำกำไรฟื้นตัวตามที่คาดการณ์

ส่วนกลุ่มธุรกิจวิศวกรรมโครงการ (Turnkey Engineering Business) ก้าวกระโดดจากการเร่งส่งมอบงานเกาะเต่าในไตรมาส 4/66 ทำให้มีรายได้รวมทั้งปี 2566 จากธุรกิจอยู่ที่ 1,329.18 ล้านบาท เติบโต 178.96 ล้านบาท หรือ 15.56% และทำกำไรสุทธิรวม 106.36 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 43.96 ล้านบาท หรือ 70.45% 

ขณะที่ในปัจจุบันมี Backlog ในมือราว 1.14 พันล้านบาท กว่า 80% ที่รอรับรู้รายได้ภายในปี 2567 ขณะที่การประมูลงานของปี 2567 นี้เน้นไปที่งาน Submarine เกาะสมุยของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ที่เป็นลูกค้าหลักรายใหญ่ในมือ และเป็นสิ่งที่กลุ่มธุรกิจมีความเชี่ยวชาญ และความชำนาญโดดเด่น รวมถึงคาดการณ์ยังมีงานที่อยู่ระหว่างจ่อรอเซ็นสัญญา พร้อมเร่งรุกเตรียมลุยเข้าประมูลงานโครงการของภาครัฐ และภาคเอกชนที่สำคัญ ๆ เพิ่ม หนุนเติม Backlog ให้แน่น เพื่อทำกำไร และมีรายได้โตขึ้นไม่น้อยกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้

ด้านธุรกิจโทรคมนาคมและดาต้าเซ็นเตอร์ (Telecom & Data Center Business) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติก ที่มีความเสถียรภาพสูงสุดทั่วประเทศไทย หรือ ITEL มีรายได้รวม 4 ไตรมาส ประจำปี 2566 อยู่ที่ 2,754.94 ล้านบาท ทำกำไรสุทธิรวม 295.96 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 16.75 ล้านบาท หรือ 6% โดยในอัตรากำไรสุทธิเท่ากับ 10.74% ของรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 32%และตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไปมีแผนดันขยายกิจการเพิ่มเติมสู้ Health Tech หลังเข้าลงทุนใน 'Global Lithotripsy Services Company Limited' เสริมพื้นฐานแข็งแกร่งตรงตามกลยุทธ์ New S-Curve ต่อยอดธุรกิจ 

โดยคาดว่าปี 2567 จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญจากการเสนองานใหม่เพิ่ม และแผนรุกธุรกิจ Data Center ควบคู่การขับเคลื่อนธุรกิจสู่ Digital Transformation ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง ตั้งเป้ารายได้ปี 2567 ที่ 3,500 ล้านบาท จากล่าสุดมี Backlog รวม 2,769 ล้านบาท พร้อมนำ บมจ.บลู โซลูชั่น 'BLUE' เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ในปี 2567 นี้แน่นอน รวมถึงบริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นรักษาฐานลูกค้าเก่า และสร้างฐานลูกค้าใหม่ ด้วยประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญที่มีมาอย่างยาวนาน ประกอบกับเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ มาสนับสนุนภาคธุรกิจในการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี Digital Transformation ด้วยการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมายกระดับการดำเนินงานขององค์กรต่าง ๆ ให้สามารถทำงานได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สอดคล้องกับเทรนด์เทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ECON

'ดนัยณัฏฐ์' คิกออฟ!! 'แฟรนไชส์เอสเอ็มอี เอ็กซ์โป 2024' ต่อยอดโอกาสใหม่ทางธุรกิจ 15-18 ก.พ.นี้ ที่ เซ็นทรัล ลาดพร้าว

เมื่อวานนี้ (15 ก.พ. 67) นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ‘งานแฟรนไชส์เอสเอ็มอี เอ็กซ์โป 2024’ พร้อมด้วย นาวสาวปนัดดา แสงธรรมชัย กรรมการผู้จัดการบริษัท สกุล วี กรุ๊ป จำกัด, นายพรภิชิต สมัครธรรม Chief Executive Officer THE STATES TIMES, นายอนันนต์ รัตนมั่นคง Vice President of Food and Beverage Services Group บริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด, นายมานะ ฮาดสุวรรณ ผู้บริหารแบรน์แฟรนไชส์โลโซโตเกียว, นางสาวชยานิษฐ์ จิรธรบุญญาสิทธิ์ ผู้บริหารแฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยวเรือปัญจะรส และนางวลัยลักษณ์ วณิชชาภิวงศ์ กรรมการผู้จัดการแฟรนไชส์ชาตันหยง เข้าร่วมด้วย

สำหรับสุดยอดงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์แห่งปี ‘งานแฟรนไชส์เอสเอ็มอี เอ็กซ์โป 2024’ (Franchise SMEs EXPO 2024) มีผู้ประกอบการร่วมงานหลากหลายธุรกิจ พร้อมกับมีโปรโมชันลดพิเศษสุด ๆ จากธุรกิจแฟรนไชส์ ‘เยอะ ครบ คุ้ม’ อาทิ ธุรกิจอาหารและขนม ธุรกิจเครื่องดื่ม ธุรกิจบริการ ธุรกิจนำเข้าสินค้าต่างประเทศ และระบบซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการร้าน เรียกได้ว่ามางานนี้ได้ครบจบในที่เดียว

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาแฟรนไชส์ อาชีพทำเงิน หรือโอกาสใหม่ ๆ สามารถเข้าร่วมงานฟรีทุกวัน 10.30-20.00 น. ระหว่างวันที่ 15-18 กุมภาพันธ์ 2567 ณ บีซีซี ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว ลงทะเบียนเข้าชมงานรับฟรีเครื่องดื่ม 1 แก้ว ทุกวัน!!

SME D Bank สร้างนิวไฮ ปี 66 พาเอสเอ็มอีถึงแหล่งทุนทะลุ 7 หมื่นล้านบาท ชูธง ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ 4 ปี ดันเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจกว่า 1 ล้านล้านบาท

SME D Bank แถลงผลสำเร็จปี 2566 สร้างสถิติใหม่รอบด้าน สูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งธนาคาร เผยพาเอสเอ็มอีถึงแหล่งทุนกว่า 7.06 หมื่นล้านบาท และตลอด 4 ปี กว่า 2.3 แสนล้านบาท สร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 1 ล้านล้านบาท พัฒนาเสริมแกร่งกว่า 7.5 หมื่นราย รักษาการจ้างงานได้กว่า 7.5 แสนราย  ขณะที่บริหาร NPL มีประสิทธิภาพ เหลือต่ำสุดในรอบ 22 ปี ประกาศปี 2567 ยกระดับสู่ยุคดิจิทัลโดยสมบูรณ์ คิกออฟใช้ระบบ CBS พร้อมแพลตฟอร์ม DX มั่นใจเดินหน้าไร้รอยต่อ  

(9 ก.พ. 67) นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวถึงผลการดำเนินงานของธนาคาร ปี 2566 และภาพรวมตลอด 4 ปี (2563-2566) ว่า จากจุดยืนการเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ที่พร้อมเคียงข้างส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยให้เติบโตยั่งยืน ด้วยแนวทาง 'เติมทุนคู่พัฒนา' ประกอบกับความมุ่งมั่น ทุ่มเทของคณะกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานที่รวมพลังเป็น ONE Team ส่งผลให้ปี 2566 ที่ผ่านมา  SME D Bank สร้างสถิติใหม่สูงสุด (New High) นับตั้งแต่ก่อตั้งธนาคารมาใน 22 ปี สามารถพาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุนกว่า 70,695 ล้านบาท และยังเป็นการสร้าง New High ต่อเนื่อง 4 ปีซ้อน (2563-2566) อีกทั้ง ช่วยสร้างประโยชน์เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยกว่า 323,780  ล้านบาท รักษาการจ้างงานประมาณ 123,200 ราย นอกจากนั้นช่วยพัฒนาเสริมแกร่งธุรกิจอีกกว่า 24,000 ราย

ทั้งนี้ ตลอดช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2563-2566) ซึ่งผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์โควิด-19  SME D Bank ช่วยเหลือดูแลผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ให้สามารถประคับประคองธุรกิจ และข้ามผ่านช่วงเวลายากลำบากไปให้ได้ โดยเติมทุนช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 231,250 ล้านบาท ก่อให้เกิดประโยชน์สร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 1 ล้านล้านบาท และช่วยรักษาการจ้างงานได้ประมาณ 752,345 ราย ควบคู่กับช่วยพัฒนาเสริมศักยภาพ ให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวและกลับมาฟื้นธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อบรม สัมมนา ช่วยขยายตลาด ยกระดับมาตรฐาน สนับสนุนเข้าถึงนวัตกรรม พาจับคู่เพิ่มช่องทางขายในและต่างประเทศ เป็นต้น มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าร่วมและได้รับประโยชน์มากกว่า 75,000 ราย 

นอกจากนั้น ดูแลลูกค้าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ผ่านมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน (ฟ้า-ส้ม) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กว่า 83,520 ราย วงเงินรวมกว่า 145,240 ล้านบาท อีกทั้ง สามารถบริหารจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อย่างมีประสิทธิภาพ ลงลด 4 ปีติดต่อกัน เหลือเลข 1 หลัก 2 ปีซ้อน โดยปี 2566 ลดเหลือประมาณ 8,690 ล้านบาท คิดเป็น 8.3% ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 22 ปี 

"ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา SME D Bank เพิ่มประสิทธิภาพ ยกระดับการทำงาน อีกทั้ง พัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อตอบความต้องการ ปรับปรุงหลักเกณฑ์อนุมัติสินเชื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์จริง ควบคู่กับสร้าง DNA แห่งการเป็น ‘นักพัฒนา’ หรือ DEVELOPER ในหัวใจของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกคน เพื่อจะพาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน" นางสาวนารถนารี กล่าว

สำหรับปี 2567 การทำงานของ SME D Bank ยกระดับไปอีกขั้น นำระบบดิจิทัลใหม่ หรือ Core Banking System (CBS) ที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่า 2 ปี มาใช้งานอย่างเป็นทางการ สามารถให้บริการทางการเงินแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ครบวงจร ทุกที่ ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย นอกจากนั้น ยังมีแพลตฟอร์ม DX (Development Excellent) ที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในเดือนมีนาคม 2567 ซึ่งเป็นระบบพัฒนาผู้ประกอบการอัจฉริยะ สร้างสังคมของการเรียนรู้ e-Learning ศึกษาได้ด้วยตัวเอง 24 ชม. สามารถปรึกษาโค้ชมืออาชีพแบบตัวต่อตัว รวมถึง ยังช่วยเพิ่มช่องทางขยายตลาด นอกจากนั้น ยังนำหลัก ESG (การดูแลสิ่งแวดล้อม (Environment) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social) และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Governance) มาขับเคลื่อนในทุกมิติขององค์กร สร้างความเชื่อมั่น โปร่งใส ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างคุณค่าแก่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 

นางสาวนารถนารี กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า แม้ในวันที่ 1 มีนาคม 2567 นี้ จะครบวาระการทำงาน 4 ปี ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ แต่ด้วยรากฐานมั่นคงขององค์กร อีกทั้ง ทีมผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้จัดการ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ล้วนเป็นบุคลากรภายในที่ร่วมผลักดันยกระดับองค์กรมาด้วยกัน และยังอยู่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรต่อเนื่อง ทำให้การทำงานทุกด้านของ SME D Bank สามารถเดินหน้าได้ดีอย่างไร้รอยต่อ และเชื่อมั่นว่า SME D Bank พร้อมเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างทั่วถึง และมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างประโยชน์ความมั่นคงและยั่งยืนแก่ประชาชน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยตลอดไป 

‘BOI’ ชี้!! ลงทุนสุขภาพ ปี 67 เติบโตก้าวกระโดด รับ ‘เทรนด์สูงวัย-โรคอุบัติใหม่-ท่องเที่ยวการแพทย์’

(21 ม.ค. 67) นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า การลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพในปีนี้ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลายด้าน อาทิ กระแสการดูแลสุขภาพ การเข้าสู่สังคมสูงวัย อัตราการเจ็บป่วยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นและเป็นโรคที่ซับซ้อนมากขึ้น การเกิดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ รวมทั้งการขยายตัวของตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์

โดยในช่วงที่ผ่านมามีกลุ่มการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ส่วนใหญ่สนใจเข้ามาในกิจการผลิตเครื่องมือแพทย์และอาหารทางการแพทย์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่จากประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน สหรัฐและยุโรป

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ เป็นสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการเป็นผู้นำของภูมิภาค ด้วยจุดแข็งในด้านคุณภาพการรักษาพยาบาลเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ความพร้อมของโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน JCI กว่า 60 แห่ง มากเป็นอันดับ 4 ของโลก อันดับ 1 ของอาเซียน รวมทั้งมีค่ารักษาพยาบาลที่แข่งขันได้

ดังนั้น อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพจึงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่บีโอไอให้ความสำคัญ โดยมีแพ็กเกจให้สิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมการลงทุนแบบครบวงจร ทั้งด้านการผลิตและการให้บริการ ทั้งในรูปแบบสิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3-8 ปี ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำมาใช้ในการวิจัยและพัฒนา

รวมทั้งสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี ซึ่งจะใช้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุน เช่น สิทธิในการถือครองที่ดินเพื่อประกอบกิจการ การอำนวยความสะดวกด้านวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน เป็นต้น

โดยสิทธิประโยชน์จะครอบคลุมกิจการ ตั้งแต่การผลิตเครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยา อาหารทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมถึงการให้บริการทางการแพทย์ เช่น โรงพยาบาล ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์การแพทย์แผนไทยหรือแผนไทยประยุกต์ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ ตลอดจนการวิจัยทางคลินิก (Clinical Research) และการพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันทางการแพทย์

โดยในปี 2566 มีโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมในอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ จำนวน 65 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนกว่า 16,000 ล้านบาท ในแง่เงินลงทุน ส่วนใหญ่อยู่ในกิจการโรงพยาบาล 10 โครงการ เงินลงทุน 9,000 ล้านบาท รองลงมาเป็นกิจการผลิตเครื่องมือแพทย์และชิ้นส่วน 24 โครงการ 2,700 ล้านบาท กิจการศูนย์การแพทย์เฉพาะทางต่างๆ เช่น โรคไต โรคมะเร็ง และจิตเวช 9 โครงการ 1,600 ล้านบาท และกิจการผลิตยา 12 โครงการ 1,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน บีโอไอได้มีการประชุมหารือกับบุคลากรในวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ ให้มีการปรับปรุงนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในอนาคตอาจมีการพิจารณาเพิ่มประเภทกิจการใหม่ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาให้เกิดการต่อยอดในอุตสาหกรรมการแพทย์ และหากเป็นกิจการเฉพาะ (นิช มาร์เก็ต) ที่ประเทศไทยมีศักยภาพ จะช่วยสนับสนุนการสร้าง Ecosystem ที่จำเป็นต่อการเป็น Medical Hub ของประเทศไทย เช่น กิจการบริการเดลิเวอรี่ทางการแพทย์ การผลิตไบโอพอลิเมอร์สำหรับการแพทย์ เป็นต้น

WORLD

‘ญี่ปุ่น’ ส่งซิกเปิดใช้ ‘โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก’ หลังมีคำสั่งระงับใช้เมื่อ 2 ปีก่อน ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย

เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 66 หน่วยงานกำกับพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น ยกเลิกคำสั่งระงับการดำเนินงานของ ‘โรงไฟฟ้าคาชิวาซากิ-คาริวะ’ (Kashiwazaki-Kariwa) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในความเคลื่อนไหวซึ่งอาจปูทางไปสู่การเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าแห่งนี้อีกครั้ง หลังจากที่ถูกสั่งปิดไปเมื่อ 2 ปีที่ก่อน

‘บริษัท โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ โค’ (เทปโก) มีความกระตือรือร้นที่จะเปิดใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดยักษ์แห่งนี้อีกครั้งเพื่อลดต้นทุน ทว่าการเปิดโรงไฟฟ้าจำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากหน่วยงานท้องถิ่นจังหวัดนีงาตะ (Niigata) ซึ่งตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลญี่ปุ่นด้วย

โรงไฟฟ้าคาชิวาซากิ-คาริวะ ซึ่งมีกำลังผลิตสูงถึง 8,212 เมกะวัตต์ อยู่ในสถานะ Offline หรือ ‘ไม่มีการผลิตไฟฟ้า’ มาตั้งแต่ปี 2011 หลังจากภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่จังหวัดฟุกุชิมะ ทำให้ญี่ปุ่นตัดสินใจสั่งปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกือบทั่วประเทศในตอนนั้น

ต่อมาในปี 2021 หน่วยงานกำกับนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น (NRA) ได้มีคำสั่งแบนการดำเนินงานของเทปโกที่โรงไฟฟ้าคาชิวาซากิ-คาริวะ หลังพบว่า มีการละเมิดกฎความปลอดภัยหลายอย่าง ทั้งเรื่องมาตรการปกป้องวัสดุนิวเคลียร์ รวมถึงข้อผิดพลาดอื่น ๆ ที่ทำให้พนักงานซึ่งไม่ได้รับอนุญาตเข้าถึงพื้นที่เปราะบางของโรงไฟฟ้าได้

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด NRA ได้ยกเลิกคำสั่งห้ามเทปโกเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงยูเรเนียมใหม่เข้าไปยังโรงงาน หรือโหลดแท่งเชื้อเพลิงลงสู่เตาปฏิกรณ์ โดยอ้างผลตรวจสอบที่พบว่า บริษัทได้แก้ไขปรับปรุงระบบการจัดการจนเป็นที่น่าพอใจ

ราคาหุ้นเทปโกเริ่มดีดตัวขึ้นทันที หลังจากที่ NRA ออกมาแถลงเมื่อช่วงต้นเดือน ธ.ค. ว่ากำลังพิจารณายกเลิกคำสั่งห้ามปฏิบัติการโรงไฟฟ้าคาชิวาซากิ-คาริวะ หลังจากที่ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและพูดคุยกับประธานเทปโกแล้ว

‘จงจื่อ’ ธนาคารเงาเบอร์ต้นของจีน ส่อล้มละลาย หลังเผชิญปัญหาหนี้สินสูงกว่าสินทรัพย์ 2 เท่า

(23 พ.ย. 66) สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานโดยอ้างอิงเอกสารลับของทางการวันนี้ว่า ธนาคารเงาขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ของจีนมีโอกาสล้มละลายอย่างสูงเนื่องจากมีปริมาณหนี้สินสูงกว่าสินทรัพย์มากกว่าสองเท่า

ท่ามกลางสัญญาณความปั่นป่วนในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนซึ่งมีมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์ ล่าสุด จงจื่อ เอนเตอร์ไพรส์ (Zhongzhi Enterprise Group Co.) ยักษ์ใหญ่อันดับต้นของจีนเปิดเผยกับนักลงทุนว่า บริษัทฯ มีหนี้สินประมาณ 4.2 แสนล้านหยวน หรือ ประมาณ 5.87 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท) ถึง 4.6 แสนล้านหยวนเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ 2 แสนล้านหยวน

"การตรวจสอบวิเคราะห์สถานะเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่ากลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงอย่างมากต่อการดําเนินธุรกิจให้ยั่งยืนต่อไปได้และบริษัทไม่มีสินทรัพย์เพียงพอที่จะชําระหนี้ในระยะสั้น โดยความพยายามก่อนหน้านี้ใน ‘การช่วยเหลือตนเอง’ ก็ล้มเหลวโดยไม่เป็นไปตามเป้าประสงค์”

ทั้งนี้ จงจื่อคือหนึ่งในผู้จัดการความมั่งคั่งส่วนบุคคล (Private Wealth Managers) ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและยังเป็นยักษ์ใหญ่ทางการเงินรายล่าสุดที่ประสบปัญหาท่ามกลางวิกฤตที่อยู่อาศัยและการเติบโตที่ซบเซาในเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก

โดยจงจือซึ่งจัดการสินทรัพย์มากกว่า 1 ล้านล้านหยวนได้รับความสนใจจากนักลงทุนและสื่อจำนวนมากในเดือนส.ค. หลังจากหนึ่งในบริษัทในเครือของบริษัททรัสต์ผิดนัดชําระดอกเบี้ยให้กับลูกค้าในผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง

อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ไม่ตอบสนองการขอสัมภาษณ์ของบลูมเบิร์ก

ท้ายที่สุดเพื่อบรรเทาความปั่นป่วนของเศรษฐกิจ จีนอยู่ในช่วงออกมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพของภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยหน่วยงานกํากับดูแลอยู่ในช่วงร่างรายชื่อนักพัฒนา 50 รายที่มีสิทธิ์ได้รับเงินทุนในการฟื้นฟูกิจการ 

ขณะที่นโยบายก่อนหน้านี้รวมถึงการผ่อนปรนการจํานองสําหรับผู้ซื้อบ้าน การลดเงินดาวน์ เงินคืนภาษีเงินได้และที่ปรับราคาบ้านให้เข้าถึงง่ายมากขึ้น ทว่ามาตรการดังกล่าวก็ยังไม่สามารถยับยั้งปัญหาในประเทศได้

‘อัลท์แมน’ ผู้ก่อตั้ง ChatGPT โดนปลดพ้นเก้าอี้ซีอีโอ เหตุ ‘ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นในฐานะผู้นำองค์กร’

แซม อัลท์แมน (Sam Altman) ซีอีโอของ OpenAI บริษัทผู้พัฒนา ChatGPT ถูกคณะกรรมการปลดออกจากตำแหน่งแบบฟ้าผ่า หลังจากบอร์ดแจ้งเหตุผลไม่ได้สื่อสารอย่างตรงไปตรงมาเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในความรับผิดชอบงาน

เมื่อวานนี้ (17 พ.ย. 66) บริษัท OpenAI ออกแถลงการณ์ระบุว่า คณะกรรมการบริหารของ บริษัท OpenAI ได้ประกาศในวันนี้ว่า แซม อัลท์แมน (Sam Altman) ลาออกจากตำแหน่งซีอีโอบริษัท OpenAI และลาออกจากคณะกรรมการบริหาร โดยคณะกรรมการได้แต่งตั้งให้ มิรา มูราติ (Mira Murati) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของบริษัท ดำรงตำแหน่งซีอีโอชั่วคราว โดยมีผลทันที

แถลงการณ์ ระบุอีกว่า การพิจารณาอัลท์แมนออกจากตำแหน่ง เป็นไปตามกระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการ ซึ่งสรุปได้ว่า "เขาไม่ได้สื่อสารอย่างตรงไปตรงมากับคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในความรับผิดชอบต่องาน"

ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการ จึงไม่มีความมั่นใจในความสามารถในการเป็นผู้นำของ OpenAI อีกต่อไป

ทั้งนี้ เมื่อแถลงการณ์บริษัทเผยแพร่ออกไปได้สร้างความสั่นสะเทือนวงการ AI อย่างมาก รวมถึงสร้างความประหลาดใจให้คนภายในบริษัท เพราะก่อนหน้าในช่วงเช้าวันเดียวกันอัลท์แมนยังคงส่งอีเมลถึงพนักงาน

สำหรับประวัติ แซม อัลท์แมน เกิด 22 เมษายน ค.ศ. 1985 ที่รัฐ Missouri สหรัฐอเมริกา เขาสนใจคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีตั้งแต่ยังเด็ก โดยในปี 2003 เข้าสมัครเรียนปริญญาตรีด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ Stanford มหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐ แต่เรียนได้ปีเดียวก็ลาออกเพื่อมาทุ่มให้กับแอปพลิเคชัน Loopt ที่ร่วมกับเพื่อนผ่านบริษัท Y Combinator

ปี 2012 แซม อัลท์แมน ทำเงินได้ถึง 43.4 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท จากการขาย Loopt ให้บริษัทการเงิน Green Dot

ปี 2014 แซม อัลท์แมน เลื่อนจากหุ้นส่วนขึ้นเป็นประธาน Y Combinator และยังเคยรักษาการ CEO ให้ Reddit ช่วงสั้น ๆ ทำให้รู้จักคนดังในแวดวงเทคโนโลยีจำนวนมากรวมทั้ง Elon musk นำไปสู่การก่อตั้ง OpenAI ศูนย์วิจัยด้าน AI ขึ้นในปี 2015

โดย Microsoft ให้ความสนใจและให้เงินสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและสามารถเปิดตัวแชตบอต ChatGPT ซึ่งสร้างความฮือฮาไปทั่วโลก

EXCLUSIVE

‘อ.พงษ์ภาณุ’ แนะรัฐหาแรงจูงใจเอกชน ลุยธุรกิจลดโลกร้อน ปั้นระบบนิเวศให้พร้อม สู่การสร้างเงินจากสภาพภูมิอากาศ

ทีมข่าว THE TOMORROW ได้พูดคุยกับ อ.พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ ที่มาร่วมพูดคุยในรายการ Easy Econ ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES ในประเด็น 'การเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศ' (Climate Finance) เมื่อวันที่ 24 มี.ค.67 โดย อ.พงษ์ภาณุ กล่าวว่า…

การกำหนดราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) โดยการเก็บภาษีคาร์บอน และการใช้กลไกตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต จะเป็นกุญแจสำคัญสู่เป้าหมาย Net Zero แต่การเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกสีเขียว (Green Transition) ได้อย่างราบรื่นจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากภาคการเงินการคลังไม่ช่วยระดมทรัพยากรมาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร และเทคโนโลยี ที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว

ประการแรก ด้วยข้อจำกัดของทรัพยากรของรัฐบาล เงินลงทุนส่วนใหญ่จึงต้องมาจากภาคเอกชน ภาครัฐต้องจัดโครงสร้างสิ่งจูงใจ (Incentive Structure) ที่เอื้อให้เอกชนกล้าลงทุนในโครงการ/อุตสาหกรรมที่ลดโลกร้อน การเก็บภาษีคาร์บอนและคาร์บอนเครดิตเป็นก้าวแรก ที่สำคัญกว่านั้นคือ การยกเลิกการอุดหนุนคาร์บอน (Carbon Subsidies) ที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน

ประการที่สอง การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยคาร์บอนอย่างเป็นมาตรฐานและมีการรับรอง รวมทั้งการจัดกลุ่ม/นิยามกิจกรรมที่ลดโลกร้อน (Green Taxonomy) จะช่วยให้ตลาดการเงินและสถาบันการเงินทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและจัดสรรทรัพยากรอย่างตรงเป้ามากขึ้น

ตลาดการเงินและธนาคารพาณิชย์เริ่มนำผลิตภัณฑ์สีเขียวมาให้บริการบ้างแล้ว สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนของธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเริ่มเป็นที่นิยม กองทุน ESG มีจำนวนมากขึ้นและได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ แม้ว่ายังไม่ชัดเจนว่าหลักเกณฑ์ ESG ของตลาดกับเป้าหมายการลดคาร์บอนจะตรงกันหรือไม่ หรือบางทีอาจขัดแย้งกันด้วยซ้ำ และอาจนำไปสู่การฟอกเขียว (Greenwashing)

ในสาขาพลังงาน ซึ่งเป็นสาขาที่ปล่อยคาร์บอนมากที่สุด ปัจจุบันยังมีโครงสร้างที่พึ่งพา Fossils อยู่ค่อนข้างสูง กล่าวคือ การผลิตพลังงานไฟฟ้าในไทยยังอาศัยก๊าซธรรมชาติและถ่านหินเป็นตัวขับเคลื่อนถึงกว่า 80% และใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นสัดส่วนน้อย ดังนั้นภาคพลังงานจึงมีความจำเป็นต้องลงทุนอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งจากภาครัฐในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและระบบสายส่ง และภาคเอกชนในรูปแบบโรงไฟฟ้า IPP SPP และ VSPP รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วย

การลงทุนและการแบ่งรับภาระความเสี่ยงระหว่างรัฐกับเอกชนร่วมกันในรูปแบบ PPP น่าจะเป็นทางออกสำคัญ IPP และ SPP เป็นโมเดลความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับเอกชนที่ประสบความสําเร็จมาแล้วในภาคพลังงาน มีความเป็นไปได้ที่จะขยาย PPP ในโครงการลดคาร์บอนในสาขาอื่นๆ ด้วย

ตลาดการเงินและสถาบันการเงินระหว่างประเทศมีเครื่องมือทางการเงินมากมายที่สามารถเสริมทรัพยากรในประเทศได้ รัฐบาลประเทศร่ำรวยประกาศใน COP 28 สนับสนุนงบประมาณแก่ประเทศกำลังพัฒนา 100,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มีบริการพิเศษที่จะช่วยส่งเสริมการลงทุนในโครงการลดคาร์บอนในประเทศกำลังพัฒนา

ประการสุดท้าย ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่โลกสีเขียว ย่อมมีกลุ่มเปราะบางที่อาจไม่สามารถรับมือกับผลกระทบได้ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะนำรายได้ที่จัดเก็บได้เพิ่มเติมจากภาษีคาร์บอนไปช่วยเป็นมาตรการรองรับทางสังคมแก่กลุ่มคนเหล่านี้

เปิดใจ 'วิชัย ทองแตง' ลั่น!! ขอใช้ทั้งชีวิตจากนี้ตามรอย 'ศาสตร์พระราชา' พร้อมผุด 'หยุดเผา-เรารับซื้อ' แก้โลกเดือด แถมช่วยเกษตรกรมีรายได้ยั่งยืน

รายการ THE TOMORROW มหาชนต้องรู้ ออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES ได้พูดคุยกับ คุณวิชัย ทองแตง ทนายคนดังสู่มหาเศรษฐีของไทย ที่ให้ความสำคัญกับปัญหาโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในปัจจุบัน ในหัวข้อ 'บุกตลาดคาร์บอนเครดิต แก้ปัญหาโลกเดือด'

คุณวิชัย กล่าวว่า ในเรื่องสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องกระตุ้นเตือนในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเดิมครอบครัวของตนเป็นครอบครัวที่ปลูกฝังเรื่องรักษาสิ่งแวดล้อมมายาวนาน โดยหลักง่ายๆ ที่วิชัยใช้สอนลูกหลาน คือ 4R ได้แก่ Rethink, Recycle, Reuse และ Reduce 

- Rethink ต้องคิดใหม่ว่าโลกใบนี้ห้อมล้อมเรา เราต้องอยู่กับโลกใบนี้ให้ได้ 
- Recycle การนำเอาวัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้งานแล้วมา 'แปรรูป' กลับเอามาใช้ใหม่ได้ 
- Reuse ง่ายกว่าเรื่องใดๆ เพียงแค่นำมาใช้ซ้ำอีกครั้งโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการอะไร 
- ส่วน Reduce พยายามใช้ทรัพยากรให้น้อยหรือลดการใช้ เมื่อมาถึงเวลานี้ไม่ใช่เรื่องโลกร้อนธรรมดาแล้วแต่เป็นโลกเดือด

เมื่อถามว่า อะไรเป็นแรงผลักดันทำให้คุณวิชัยสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม? คุณวิชัยตอบว่า "ผมจะไม่เพิกเฉยกับเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมนี้ ปัจจุบันครอบครัวเราได้ตั้งมูลนิธิหนึ่งน้ำใจขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือเด็กผู้ด้อยโอกาสตามชายแดน โดยปัจจุบันได้สร้างโรงเรียน 19 แห่ง ซึ่งล้วนเดินทางยากลำบากมาก 

"ขณะเดียวกัน ในช่วงตลอดระยะเวลา 19 ปี ที่ทีมงานของเราได้ขึ้นลงไปสำรวจในพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่องนั้น ก็ทำให้ได้รับรู้ปัญหาอื่นที่ควบคู่ ผ่านความรู้สึกของชาวบ้านที่พูดถึงมหันตภัยสิ่งแวดล้อมของโลกใบนี้ ซึ่งเราก็ช่วยเท่าที่ช่วยได้ แต่พอจังหวัดเชียงใหม่เกิดปัญหามีค่าฝุ่น PM 2.5 ขึ้นอันดับหนึ่งของโลก ผมรับไม่ได้ เลยพูดคุยถึงแนวคิด 'โครงการหยุดเผา เรารับซื้อ' ซึ่งโครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากมองเห็นว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ชาวบ้านเผาป่า เราก็เลยคิดว่าทำอย่างไรให้ชาวบ้านหยุดเผา"

คุณวิชัย เผยว่า "วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหานี้ คือ แปลงเป็นเงิน เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นไปในตัว โดยนำสิ่งที่จะเผา เช่น วัสดุทางการเกษตรทั้งต้นทั้งซังมาขายให้กับเรา ด้วยการให้นักธุรกิจในพื้นที่รวบรวมจากชาวบ้านแล้วส่งมาที่โรงงาน จากนั้นทางโรงงานก็จะแปรรูปเป็นชีวมวลอัดเม็ด (Biomass Pallets) ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น"

คุณวิชัย มองว่า ตรงนี้ถือเป็นการสร้างวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยมองไปที่ตลาดต่างประเทศ ซึ่งมีตลาดขนาดใหญ่และมีความต้องการสูงในเรื่องนี้ เช่น ประเทศญี่ปุ่นประเทศเดียวก็มีความต้องการ 10 ล้านตันต่อปีแล้ว และต้องการเซ็นสัญญายาวล่วงหน้า 20 ปี 

"หัวใจของธุรกิจนี้คือ ต้องมีวัสดุเหลือใช้มากพอเข้ามาป้อนโรงงาน จึงอยากให้นักธุรกิจในท้องถิ่นได้มีส่วนช่วยในการรวบรวมเศษวัสดุมาให้เรา ส่วนความคืบหน้าของโครงการฯ ตอนนี้เรามีหนึ่งโรงงานที่ อำเภอจอมทอง ส่วนโรงงานที่สองน่าจะเกิดขึ้นที่ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่"

คุณวิชัย เล่าอีกว่า "รู้สึกเสียดายที่โครงการนี้เกิดขึ้นได้ช้า เพราะหลักๆ เราใช้โมเดลที่ไม่ได้พึ่งพางบประมาณของรัฐบาลเลย โดยระดมทุนสร้างโรงงานมูลค่า 300 ล้านบาท รับซื้อแบบไม่จำกัด ซึ่งการรับซื้อก็ช่วยสร้างความยั่งยืนในระดับหนึ่ง แต่เราต้องเติมความยั่งยืนให้กับชาวบ้านอีกว่า เงินของชาวบ้านจะสามารถเพิ่มพูนงอกเงยขึ้นได้อีกอย่างไร...

"อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผมได้คุยกับทาง กฟผ. แล้ว ถ้าเราสามารถสร้างโรงงานพร้อมกันได้ 10 แห่ง ภายในปี พ.ศ. 2568 ปัญหาเรื่อง PM 2.5 ก็น่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งนอกจากทางภาคเหนือแล้ว ตอนนี้เรามีการขยายไปทางภาคใต้ด้วย เช่น การพัฒนาสนามกอล์ฟรูปแบบ Carbon Neutral ที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นสนามกอล์ฟ Carbon Neutral อันดับที่ 2 ของเอเชียรองจากประเทศสิงคโปร์ และทีมงานยังได้ศึกษาต้นปาล์มด้วยว่าสามารถนำมาทำ Pallets ได้ไหมสรุปว่าสามารถทำได้ก็จะขยายความร่วมมือและต่อยอดต่อไป"

เมื่อถามถึงภาพรวมของตลาดคาร์บอนเครดิตในไทย? คุณวิชัยกล่าวว่า "องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการเดินหน้าเป็นอย่างดี และมีการสร้างแพลตฟอร์มซื้อขายตลาดคาร์บอนเครดิตขึ้นเช่นกัน ผมได้เจอนักธุรกิจสิงคโปร์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากกองทุน 'เทมาเส็ก' หรือกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของสิงคโปร์ โดยกำลังทำแพลตฟอร์มด้านคาร์บอนเครดิตระดับเอเชีย จึงอยากขอให้ไทยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มนี้ ซึ่งเขาก็ตอบรับและเข้ามาประชุมแล้ว เรียกว่ามีโอกาสสูงที่จะได้ร่วมมือกัน เพราะทางสิงคโปร์เองก็ต้องการคาร์บอนเครดิตอีกมาก ถือเป็นโอกาสของประเทศไทย"

เมื่อถามถึงทิศทางการเติบโตคาร์บอนเครดิตในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป? คุณวิชัยกล่าวว่า "ผมมองเห็นการเติบโต เราสามารถแปลงวิกฤตเป็นโอกาสและสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับเกษตรกรไทยทั่วประเทศได้ วัตถุดิบทางการเกษตรที่เหลือใช้หลายอย่างสามารถแปลงเป็นภาชนะที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมได้ ยกตัวอย่าง บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) ภายใต้ชื่อแบรนด์ 'เกรซ' สามารถนำวัสดุทางการเกษตรที่เหลือใช้ เช่น ซังข้าว, ข้าวโพด, อ้อย และอื่นๆ มาแปลงเป็น ถ้วยชาม หลอด รักษ์โลก เราจึงพยายามเชื่อมโยงบริษัทฯ นี้กับพื้นถิ่นที่เรากำลังจะสนับสนุนด้านคาร์บอนเครดิต...

"เมื่อก่อนเราผลิตเพื่อทดแทนพลาสติก แต่ไม่สามารถทดแทนได้หมดเนื่องจากราคาสูง ปัจจุบันสามารถทำราคาได้ใกล้เคียงกับพลาสติกแล้ว ต่างกันแค่ 20-30% และสามารถเคลมคาร์บอนเครดิตได้ สร้างความยั่งยืนได้ เมื่อย่อยสลายสามารถกลายเป็นปุ๋ยได้ และยังฝังเมล็ดพันธุ์พืชท้องถิ่นไว้ในผลิตภัณฑ์ทำให้กลายเป็นต้นไม้ได้อีก สามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้ ซึ่งเป็นความคิดของคนไทยที่น่าภาคภูมิใจ...

"ส่วนการขยายไปยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เกิดจากได้ทราบแนวคิดของโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ซึ่งจะเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยกับมาเลเซีย เลยมีแนวคิดนำคาร์บอนเครดิตลงไปแนะนำในท้องถิ่น ซึ่งถ้า SEC เกิดขึ้นจริง พื้นที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็มีศักยภาพสูงพอที่จะสามารถลงทุนพัฒนาได้ในอนาคต"

เมื่อถามถึงเรื่อง BCG? คุณวิชัย เผยว่า "เราสนใจมานานแล้ว นักธุรกิจควรเน้นเรื่อง ESG (Environmental, Social, Governance) เป็นหลักโดยเฉพาะกองทุน ESG ต้องเชื่อมโยงกับกองทุนเหล่านี้ให้เร็วที่สุด ซึ่งเราก็พึ่งเริ่มทำ โดยพยายามถ่ายทอดความรู้ในเรื่องนี้ในการบรรยายให้กับธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ให้สนใจเรื่องนี้ เพื่อให้ธุรกิจนั้นเป็น ESG ด้วยหลักคิดง่ายๆ 4 ประการ ได้แก่ Net Zeo, Go Green, Lean เหลื่อมล้ำ, ย้ำร่วมมือ เป็นการสร้างคุณค่าใหม่ให้กับประเทศตาม Passion ของผม เกษตรกรต้องไม่จน"

เมื่อถามถึงความคืบหน้าจากโครงการ 'กวี คีตา อัมพวาเฟส' ที่ผ่านมา? คุณวิชัย กล่าวว่า โครงการนี้เกิดจากแรงบันดาลใจเนื่องจากตนเป็นเขยสมุทรสงคราม มีความผูกพันกับแม่น้ำแม่กลอง ชอบธรรมชาติและใส่ใจในสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์สร้างโมเดล Cultural Carbon Neutral Event แห่งแรกของไทยและของโลก ด้วยการจัด Event วัฒนธรรมและสอดแทรกเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย 

"ผมอยากให้เกิดโมเดลแบบนี้ไปทั่วประเทศ จึงเกิดการต่อยอดโดยหลานทั้งสองของผม อายุ 16 ปีและอายุ 14 ปี ที่มีความคิดอยากทำตาม Passion ของปู่ ในเรื่องสิ่งแวดล้อม Carbon Neutral ให้ยั่งยืนต่อเนื่องกับอัมพวาจริงๆ ก็เลยมีแนวคิดเปลี่ยนเรือในคลองอัมพวา จากเรือสันดาปใช้พลังงานน้ำมัน เป็นเรือใช้พลังงานไฟฟ้า โดยจะเริ่มจากคลองเฉลิมพระเกียรติ หรือคลองบางจาก ใน Concept Net Zero อัมพวา อย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งหลานๆ เกิดความสำนึกต่อการรักษ์โลกใบนี้ก็ถือว่าเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งแล้ว...

"ขณะเดียวกัน ก็มี 'สวนสมดุล' ที่เกิดจากลูกชายคนเล็กของผม ที่ขอไปเป็นเกษตรกรตามรอยศาสตร์พระราชา ทุกตารางนิ้วในสวนเป็น Organic ทั้งหมด ไม่ใช้สารเคมีเลย โดยมุ่งหวังสร้างผลิตภัณฑ์มาตรฐานไทยขึ้นมาซึ่งคุณภาพไม่ได้ด้อยกว่าออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เช่น ครีมอาบน้ำ น้ำยาล้างจาน เป็นต้น รวมถึงยังเลี้ยงผึ้งชันโรง และตั้งรัฐวิสาหกิจชุมชนอย่างแท้จริง"

เมื่อพูดถึงศาสตร์พระราชาถูกมาใช้ในการบริหารธุรกิจอย่างไร? คุณวิชัยกล่าวว่า "หลังจากผมประกาศว่าเมื่อผมอายุครบ 70 ปี อยากทำตาม Passion ตัวเอง 3 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ 1.เกษตร 2.การศึกษา 3.ร้านค้าปลีกโชห่วยที่ได้รับความเดือดร้อน ผมก็ได้เดินสายบรรยายไปทั่วประเทศ แต่ทุกครั้งที่เดินสาย ถ้ามีโอกาสผมจะพูดถึงปรัชญาของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่มีความลึกซึ้งถ้าเรียนรู้และนำไปปรับใช้อย่างแท้จริงแล้ว เราจะไม่ได้เพียงการดำรงชีวิตที่อยู่ได้ แต่เรายังสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจที่ตัวเองทำ...

"ในหลวงท่านไม่ได้ปฏิเสธเรื่องเทคโนโลยี แต่แนวคิดท่านทำให้คนเริ่มบาลานซ์เทคโนโลยีกับวิถีชีวิตจริง วิถีเกษตรกรรมที่สามารถสร้างผลตอบแทนมาที่ตัวเราได้โดยไม่ต้องต่อต้านเทคโนโลยี แต่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ อย่างเด็กเกษตรที่ผมเคยบรรยายก็ได้ตระหนักถึงปรัชญานี้ ผมจึงมีโครงการมาตรฐานการเกษตรที่ชลบุรีบ้านเกิดผม โดยจะแนะนำเทรนด์เรื่องการบริหารฟาร์มและสร้างหลักสูตรที่เรียกว่า 'เกษตรหัวขบวน' เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นมาให้เข้าใจเรื่องการบริหารจัดการฟาร์ม เข้าใจแผนงานการตลาดและความต้องการของตลาดในปัจจุบัน"

เมื่อถามถึงเป้าหมายสำคัญของ คุณวิชัย ที่สอดคล้องไปกับฉายา Godfather of Startup ว่าคืออะไร? คุณวิชัย เผยว่า ปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่าเด็กไทยเก่งมาก แต่ขาดเวทีในการแสดงความสามารถ ซึ่งตนประกาศว่ากำลังตามหายูนิคอร์นตัวใหม่ วันนี้จึงขอฝากถึงทุกภาคส่วน เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มากขึ้น เพื่อที่จะทำให้ไทยพบช้างเผือกในป่าลึก กล้าคิด กล้าทำ กล้านำเสนอ ซึ่งจะสร้างความภาคภูมิใจให้ประเทศไทยได้ในอนาคต ขณะเดียวกันก็ฝากถึงนักธุรกิจที่อยากประสบความ ก็ต้องยึดหลัก กล้าคิด กล้าทำ กล้ารับผิดชอบ ด้วย

"สิ่งหนึ่งที่เด็กไทยมักจะขาดก็คือความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในกระบวนการต่างๆ เช่น Collaboration, Connectivity, M&A ในการเริ่มต้นอย่าคิดว่าเก่งคนเดียวต้อง Collaboration ถ้าเก่งบวกเก่ง กลายเป็นซุปเปอร์เก่งเลย เราต้องทำให้สินค้าบริการให้ครบวงจร อย่ามอง Hedge Fund อย่างเดียว อาจไม่ยั่งยืน และต้องมีเป้าหมายยิ่งใหญ่ อย่าทำผ่านๆ ไป เป้าหมายจะไปที่ไหน ต้องเขียน Roadmap อย่างไร ถามว่าคุณวิชัยเคยล้มเหลวไหม คุณวิชัยตอบว่า เยอะมาก จำไว้เลยนะครับว่าไม่มีใครสำเร็จอย่างเดียว และไม่มีใครล้มเหลวอย่างเดียว ความล้มเหลว คือ บทเรียนที่คุ้มค่าให้เราเรียนรู้ได้เสมอ อย่ากลัวความล้มเหลว"

คุณวิชัย ฝากทิ้งท้ายบทสัมภาษณ์นี้อีกด้วยว่า "ประเทศนี้ให้ผมมาเยอะแล้ว ผมต้องสร้างคน สร้างธุรกิจใหม่ๆ พร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า เพื่อคืนให้กับสังคม คืนให้กับประเทศชาติจนกว่าชีวิตผมจะหาไม่ ซึ่งเวลาผมไปบรรยายต้องให้ผู้ฟังช่วยปฏิญาณไปกับผมด้วยเสมอ คือ 1.เราจะไม่ใช้เทคโนโลยีเพื่อโกงหรือหลอกลวงผู้อื่น 2.เราจะเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่ดีมีคุณธรรม 3.เราจะแบ่งปันความรู้และโอกาสให้แก่ผู้ที่ด้อยกว่า เป็นสิ่งที่ผมอยากปลูกฝังระบบคุณธรรมให้กับคนรุ่นใหม่ต่อไป"

‘กาสิโนในไทย’ แรงเสริมภาคการท่องเที่ยว ในวันที่จุดขายทางธรรมชาติ เริ่มสึกกร่อน

ทีมข่าว THE TOMORROW ได้พูดคุยกับ อ.พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ ที่มาร่วมพูดคุยในรายการ Easy Econ ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES ในประเด็น 'กาสิโนในไทย ถึงเวลารึยัง?' เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 67 โดย อ.พงษ์ภาณุ กล่าวว่า…

อบายมุขกับการท่องเที่ยวอาจเป็นของคู่กัน มีการศึกษาของหลายสำนักระบุว่าธุรกิจการพนันมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่รายได้ทางตรงจากการเล่นการพนันเท่านั้น แต่ผลประโยชน์ยังได้กระจายไปยังธุรกิจต่อเนื่องต่างๆ ได้แก่ โรงแรม, ร้านอาหาร, ห้างสรรพสินค้า, การจัดประชุมและนิทรรศการ ทั้งในระดับประเทศ ระดับท้องถิ่น และระดับรากหญ้า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเล่นการพนันและพักผ่อนหย่อนใจในสถานบันเทิงต่างๆ เป็นนักท่องเที่ยวรายได้สูงและใช้จ่ายสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป 

หลายประเทศ/เมืองประสบความสําเร็จจากการใช้ธุรกิจการพนันเป็นเครื่องดึงดูดนักท่องเที่ยว ลาสเวกัส น่าจะเป็นเมืองแห่งการพนันและบันเทิงเมืองแรกๆ ของโลกที่ประสบความสําเร็จมาอย่างยาวนาน แม้จะตั้งอยู่โดดเดี่ยวกลางทะเลทรายในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันลาสเวกัสได้กลายเป็นเมืองร่ำรวยที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาปีละกว่า 40 ล้านคน ลาสเวกัสยังเป็นโมเดลที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกยึดถือเป็นแบบอย่างในการพัฒนาธุรกิจการพนันและบันเทิงแบบครบวงจร

มาเก๊าเป็นเมืองการพนันอีกเมืองหนึ่งที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และในบางช่วงเวลาได้สร้างรายได้การท่องเที่ยวได้มากกว่าลาสเวกัสเสียอีก เนื่องจากมาเก๊าเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษและเป็นที่เดียวที่รัฐบาลจีนอนุญาตให้มีกาสิโนถูกกฎหมาย จึงมีคนจีนเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจที่มาเก๊าเป็นจำนวนมาก

สิงคโปร์และญี่ปุ่นเป็นอีก 2 ประเทศที่เล็งเห็นประโยชน์จากการเปิดให้มีกาสิโนถูกกฎหมาย หลังจากเปิดได้เพียงไม่กี่ปี Marina Bay ได้กลายเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดและสร้างรายได้มหาศาลของสิงคโปร์ ขณะที่ญี่ปุ่นก็เพิ่งจะอนุญาตให้จัดตั้งกาสิโนเป็นครั้งแรกที่เมืองโอซากา กำหนดเปิดดำเนินการได้ในอีก 5-6 ปีข้างหน้า เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งสองประเทศเป็นประเทศที่มีความอนุรักษ์นิยมไม่ยิ่งหย่อนกว่าไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่เติบโตด้วยภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก วันนี้แม้ว่าการท่องเที่ยวจะเริ่มกลับมาหลังจากวิกฤตโควิด แต่ก็ยังไม่สามารถกลับสู่ระดับเดิมก่อนโควิดได้ การท่องเที่ยวของไทยพึ่งพาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น ชายหาด, เกาะแก่ง, อุทยาน เป็นต้น นับวันแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเหล่านี้ก็จะสึกหรอไปจากความแออัดของนักท่องเที่ยว การลงทุนเพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวแบบ Man-made Attractions แม้ว่าจะมีอยู่บ้าง แต่ก็น้อยเต็มทีและต้องถือว่ายังไม่เป็นระดับโลก

จึงเป็นที่น่ายินดีที่ขณะนี้มีการผลักดันเรื่องการจัดตั้งกาสิโนถูกกฎหมายและสถานบันเทิงครบวงจร ซึ่งจากการศึกษาของหลายสำนัก รวมทั้งรัฐสภาและกระทรวงการคลัง พบว่ามีความเป็นไปได้และน่าจะมีประโยชน์มากกว่าผลเสีย แต่มีประเด็นสำคัญต่างๆ ที่ฝ่ายนโยบายต้องคำนึงถึง อาทิเช่น การกำกับดูแล การจัดเก็บภาษี การเลือกที่ตั้งที่เหมาะสม การสร้างความเชื่อมโยงกับ Soft Power ของไทย ผลกระทบทางสังคม เป็นต้น ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้เป็นข้อห่วงใยที่เป็นประโยชน์และจำเป็นต้องเตรียมการไว้แต่เนิ่นๆ

เรื่องสำคัญที่อาจจะยังไม่มีการพูดถึง คือ เรื่องของตลาดและเทคโนโลยี หากกาสิโนที่จะมีการจัดตั้งขึ้นมุ่งเน้นลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งก็คงจะเป็นตลาดนักท่องเที่ยวจีนเป็นสำคัญ ก็คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องแข่งขันกับกาสิโนอื่นในภูมิภาค รวมทั้งมาเก๊าของจีน คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะขอให้รัฐบาลจีนส่งเสริมให้คนจีนขนเงินมาเล่นการพนันในประเทศไทยในภาวะที่จีนกำลังมีปัญหาเศรษฐกิจและเงินทุนไหลออก ดังนั้นอาจจำเป็นต้องมีการพูดคุยกันแบบ G to G กับทางจีนเป็นประการแรก  ส่วนเรื่องเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีออนไลน์และ AI ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจบันเทิงทุกประเภท ก็อาจทำให้กาสิโนที่จะมีขึ้นมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

STORY

27 มีนาคม พ.ศ. 2454 ‘ในหลวง ร.6’ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา ‘กรมศิลปากร’ เป็นครั้งแรก ‘ดูแลคุ้มครอง-อนุรักษ์-เผยแพร่องค์ความรู้’ ด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ

ในทุกวันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่สำคัญยิ่งสำหรับบุคลากรที่ทำงานในหน่วยงานที่สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เพราะเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกการช่างจากกระทรวงโยธาธิการและกรมพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมการ ที่ตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มารวมไว้ด้วยกันเป็นกรมใหม่ และพระราชทานนามว่า ‘กรมศิลปากร’ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2454 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ทรงเป็นผู้บัญชาการกรมศิลปากรคนแรก

ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกรมศิลปากร โดยรวมเข้ากับราชบัณฑิตยสภาและเรียกกรมศิลปากรว่า ‘ศิลปากรสถาน’ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2469 แต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติตั้งกระทรวงและกรม เมื่อ พ.ศ.2476 จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นมาใหม่ โดยให้สังกัดกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ด้วยเหตุนี้ กรมศิลปากรจึงได้กำหนดเอาวันที่ประกาศจัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นมาใหม่ เป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากร ในเอกสารจดหมายเหตุ ชุด กระทรวงศึกษาธิการ ศธ.0701.9.6/4 เรื่อง วันสถาปนากรมศิลปากร พ.ศ. 2496 ได้กล่าวถึงการจัดงานวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากร ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ภายในเอกสาร มีการกล่าวอวยพรข้าราชการในกรมศิลปากร โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น มีการจัดงานทำบุญ และเชิญพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ช่วงท้ายของงานมีการจัดรายการนิยายอิงประวัติศาสตร์ประกอบดนตรีไทยออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง เรื่อง ราเมศวร ซึ่งเอกสารชุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการจัดงานระลึกวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากรในช่วงเวลานั้น

ใน พ.ศ. 2522 นายเดโช สวนานนท์ อธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้น ได้มอบหมายให้กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับประวัติกรมศิลปากรใหม่ และในที่ประชุมกรมศิลปากร เมื่อวันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 จึงมีมติให้กำหนดวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากร โดยยึดตามวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนากรมศิลปากรขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งก็คือ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2454 นับตั้งแต่นั้น วันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี จึงกลายเป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากร

เนื่องในโอกาสครบรอบ 113 ปี วันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากรใน พ.ศ. 2567 กรมศิลปากรในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล คุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติมาอย่างยาวนาน ด้วยคุณูปการที่หน่วยงานแห่งนี้สร้างเอาไว้ ทำให้ในวันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี จึงเป็นวันที่ชาวกรมศิลปากรจะระลึกถึงการก่อตั้งกรมศิลปากร หน่วยงานที่เป็นเสาหลักในการธำรงไว้ซึ่งมรดกวัฒนธรรมของชาติ ให้คนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญทางศิลปวัฒนธรรมของชาติสืบไป


ที่มา : https://www.nat.go.th/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94/ArticleId/964/-1-2-3-4-5-6-7-8-9-10-11-12-13-14-15-16-17-18-19-20-21-22-23-24-25-26-27-28-29-30-31-32-33-34-35-36-37-38-39-40-41-42-43-44-45-46-47-48-49-50-51-52-53-1-2-3-4-5 

26 มีนาคม พ.ศ. 2459 ‘ในหลวง ร.6’ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา ‘จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ มหาวิทยาลัยไทยแห่งแรกที่มีการศึกษาแบบตะวันตก ตามพระราชดำริ ‘ในหลวง ร.5’

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นการก่อกำเนิดมหาวิทยาลัยครั้งแรกในเมืองไทยที่มีการศึกษาตามแบบตะวันตก ถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยศรีในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2442 และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2445

ทั้งนี้เพื่อผลิตบุคลากรให้รับราชการ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบรมราโชบายในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชที่จะ “ให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยาม” พอที่จะช่วยให้กิจการปกครองท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยดำเนินไปได้

เมื่อสมควรขยายการจัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของ กระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษา พระราชทานนามว่า ‘โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’ เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2453

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์แน่ชัดในการตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในอนาคต เห็นได้จากพระราชดำรัสที่พระราชทานในวันก่อศิลาพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 ทรงดำรัสไว้ว่า

“วันนี้เรายินดีที่ได้รับเชิญให้มาวางศิลาฤกษ์สำหรับมหาวิทยาลัยนี้ เพราะเป็นกิจอันหนึ่งซึ่งเราปรารถนาอยู่นานแล้ว ที่จะยังให้เป็นผลสำเร็จตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระราชปรารถนามานานแล้วในเรื่องที่จะให้มีมหาวิทยาลัยขึ้น สำหรับเป็นสถานอุดมศึกษาของชาวสยาม…ตัวเราเป็นรัชทายาท จึ่งรู้สึกเป็นหน้าที่อันหนึ่งที่จะต้องทำการนั้นให้สำเร็จตามพระราชประสงค์…เรามีความยินดีที่ได้เห็นการดำเนินล่วงมาได้มากแล้ว ในบัดนี้เราได้วางศิลาฤกษ์ด้วยความหวังที่ได้เห็นแลความดีงามในอนาคตกาลแห่งมหาวิทยาลัยนี้”

ในปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พร้อมกับโอนมหาวิทยาลัยแห่งนี้ไปขึ้นกับกระทรวงธรรมการในวันเดียวกัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมมหาวิทยาลัยขึ้นอีกกรมหนึ่ง ขึ้นตรงต่อกระทรวงธรรมการ มีตำแหน่งหัวหน้าเป็นชั้นอธิบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นกับกรมนี้ โดยมี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยเป็นพระองค์แรก และมีพระยาอนุกิจวิทูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนแรก (ต่อมาตำแหน่งนี้เปลี่ยนไปเรียกเป็นอธิการบดี ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา)

25 มีนาคม พ.ศ. 2434 ‘ในหลวง ร.5’ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้ง ‘กระทรวงยุติธรรม’ ปรับโฉมระบบยุติธรรมไทยให้ทันสมัย - แก้ปัญหาพิจารณาคดีล่าช้า

ประเทศสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 บ้านเมืองเกิดปัญหาต่าง ๆ มากมายในกระบวนการพิจารณาคดีความ ทำให้การอำนวยความยุติธรรมเป็นไปอย่างยากลำบาก จนนำไปสู่วิกฤตทางการศาลขึ้น โดยสาเหตุหลักมาจาก 

1. ความไม่เหมาะสมของระบบการศาลเดิมที่ขึ้นตามกระทรวงต่าง ๆ ทำให้เกิดความล่าช้าสับสน

2. ความไม่เหมาะสมของวิธีพิจารณาความแบบเดิม ที่มีวิธีการพิจารณาและพิพากษาคดี รวมถึงขอบเขตการลงโทษที่ไม่เหมาะสม

3. ความบีบคั้นจากต่างประเทศในด้านการศาล สืบเนื่องมาจากการมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของชาวต่างชาติ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงในเอกราชของไทย

ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้ระบบยุติธรรมในสยามมีประสิทธิภาพ มีความเหมาะสม และสามารถบังคับใช้ได้แก่ประชาชนทั่วไปในสยาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 โดยมีการรวบรวมศาลต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายเข้ามาในระบบภายใต้การควบคุมของกระทรวงยุติธรรม และกำหนดรูปแบบวิธีพิจารณาและพิพากษาคดีขึ้นใหม่อีกด้วย

INFO

สรุปตลาดหุ้น ประจำวันที่ 24 ส.ค. 66

📌สรุปตลาดหุ้น ประจำวันที่ 24 ส.ค. 66

สรุปตลาดหุ้น ประจำวันที่ 23 ส.ค. 66

📌สรุปตลาดหุ้น ประจำวันที่ 23 ส.ค. 66

ตลาดหุ้นไทยวันนี้ ปิดตลาดบวกเกือบ 20 จุด ขานรับว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่!!

📌 ตลาดหุ้นไทยวันนี้ ปิดตลาดบวกเกือบ 20 จุด ขานรับว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่!!

VIDEO

easy ECON | ประจำวันที่ 2 กรกฎาคม 2566

วันนี้ 2 กรกฎาคม 2566 พบข่าวเด่น-ข่าวดีที่พร้อมเสิร์ฟเช้านี้ กับช่วง Easy Econ โดย คุณพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ กับ เรือโท ศรัณย์ ซอโสตถิกุล มาพูดคุยในประเด็นข่าวกรณี บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ได้นำเงินจากการเพิ่มทุนไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ จนส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนอย่างหนักถึงขั้นที่หุ้นสตาร์ค มูลค่าร่วงจาก 3 หมื่นกว่าล้านบาท เหลือเพียง 2 พันกว่าล้านบาทเท่านั้น แล้วเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นได้อย่างไร อะไรคือชนวนที่ทำให้เรื่องนี้ลุกลามบานปลาย แล้วตลาดทุนไทยต้องแก้ไขปัญหานี้ หรือต้องปรับตัวอย่างไร ติดตามรายละเอียดได้เลย

THE TOMORROW มหาชนต้องรู้ | ประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 66

THE TOMORROW วันนี้ 1 กรกฎาคม 2566 ปัจจุบันถึงแม้ผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด - 19 จะเริ่มคลี่คลาย แต่สถานการณ์ความไม่ชัดเจนทางการเมืองของไทย สถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลก รวมถึงปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนและหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้ ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจ  รวมถึงกำลังซื้อของประชาชน ทำให้การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันไม่ง่ายนัก แต่มีอยู่หนึ่งธุรกิจที่พยายามปรับตัวให้เข้ากับสภาวะการณ์ปัจจุบัน และสิ่งที่ได้รับคือมีผลประกอบการกำไรต่อเนื่องมา 5 ไตรมาส เราต้องไปถามเคล็ดลับความสำเร็จกันหน่อยแล้วว่า เขามีการบริหารจัดการอย่างไรในยุคที่กระแสคลื่นดิสรัปชั่น ทำอย่างไรให้ธุรกิจไปต่อและเดินหน้าไปอย่างมั่นคง ต้องติดตามใน THE TOMORROW มหาชนต้องรู้

🎤 แขกรับเชิญ: บุญเลิศ นราไท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน)

🎤ผู้ดำเนินรายการ:อ๊อดโต้ วสันต์ มนต์ประเสริฐ

รีเทนชัน & รีไฟแนนซ์ ผ่อนบ้านครบ 3 ปี ควร ‘รี’ ให้ไว!!

รีเทนชัน & รีไฟแนนซ์ ผ่อนบ้านครบ 3 ปี ควร ‘รี’ ให้ไว!!

© Copyright 2023, All rights reserved. THE TOMORROW
Take Me Top